พิษณุโลก รร.บ้านวังยาง นักเรียนมี 17 คน ตั้งวงดนตรี-ร้องเพลง ปลูกผัก- ขายผัก ทักษะวิชาภาษาไทย- คณิตศาสตร์

วันที่ 8 มีนาคม 2567 ดร.กฤษดา พรหมอินทน์ ศึกษานิเทศน์ชำนาญการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 1 เดินทางมาตรวจงานและให้โรงเรียนบ้านวังยาง ตำบลวังน้ำคู้ อำภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ผ่านการคัดเลือกเป็นโรงเรียนแหล่งเรียนรู้แนวเศรษฐกิจพอเพียงแห่งแรกของจังหวัดพิษณุโลก เป็นศูนย์กลางการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้จริง

นางแจ่มจิต สุระจิตร์ รักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านวังยาง กล่าวว่า เดิมเคยมีนักเรียน 200 คน ปัจจุบันเหลือ 17 คน เนื่องจากแม่ย้ายถิ่นทำงานและเด็กเกิดน้อยลง ทั้งนี้เด็กไม่ชอบเรียนวิชาการ จึงต้องแบ่งฐานการเรียนรู้ออกเป็นฐานต่างๆ อาทิ เล่นดนตรี การปลูกพืชผักสวนครัว ทำน้ำยาล้างจานจากมะกรูด การปลูกกล้วยที่โรงเรียนพร้อมนำมาแปรรูปเป็นกล้วยฉาบ ฯลฯ

“ต้องยอมรับว่า เด็กตามชนบท ไม่ชอบการเรียนเข้มข้นหรืออยากไปแข่งขันระดับจังหวัดหรือประเทศไทย แต่ครูจำเป็นต้องฝึกให้เรียนรู้ แต่เด็กก็ยังไม่มุ่งมั่น ทำให้ครูต้องมีหน้าที่รับผิดชอบฝึกทักษะชีวิตพื้นฐาน อาทิ การปลูกผักสวนคะน้า

“เพื่อให้เด็กจะต้องรู้และเขียนภาษาไทยคำว่า คะน้า ให้ได้ เมื่อผลผลิตออกแล้ว จะต้องนำไปขาย เด็กจะต้องฝึกทักษะวิชาเลข คือ ต้องรู้วิธีคิดเงิน เรียกว่า เป็นการฝึกทักษะหรือซึมซับโดยไม่รู้ตัว ซึ่งถือว่า เด็กมีความสุขกับกิจกรรมมากกว่า นั่งเรียนแนววิชาการ เท่ากับว่าได้เรียนรู้เพื่อดำรงชีวิต ต่อสู้กับโลกภายนอกเช่นกัน

ด้านครูโรงเรียนวังยางที่สอนดนตรี กล่าวว่า ตนเป็นนักดนตรีเก่าและมีเครื่องเล่นต่างๆ ทั้งกลองชุด กีตาร์ เปียนโน จึงนำมาให้เด็กเล่นและฝึกร้องเพลง จากที่ดีดกีตาร์ ตีกลองไม่เป็นเลย กระทั่งใช้เวลาฝึกประมาณ 1 เดือนพอมีแววไปได้ หลังผ่านไป 3 เดือนพบว่า เด็กๆสามารถเล่นเป็นวงได้ จึงนำวงดนตรีออกงานได้จริง ซึ่งตนได้สอนเด็กๆจบไปแล้ว 1 รุ่น ถือว่า เด็กรุ่นนี้อยู่วัยเรียนรู้ สามารถตั้งใจฝึกได้ง่าย ไม่ยาก

error: Content is protected !!