ไทย-ลาว ร่วมตั้งคณะดับไฟ เร่งแก้ไข PM 2.5
วันที่ 7 มี.ค.67 ที่ห้องประชุมโรงแรมน้ำโขงริเวอร์ไซด์ อ.เชียงของ จ.เชียงราย สภาลมหายใจ จ.เชียงราย โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดกิจกรรม “โครงการลมหายใจไทย-ลาว ครั้งที่ 2” โดย มีนายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธาน ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ท่านคำแยง ดอนไชยสิด เจ้าเมืองต้นผึ้ง ท่านสุไล ดวงพาคำ เจ้าเมืองปากทา และท่านทิพกร มณีคำ เจ้าเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ซึ่งอยู่ติดกับ จ.เชียงราย
ฝ่ายไทยมีนายวีรวิชญ์ เธียรชัยนนท์ ผู้อำนวยการโครงการแม่โขงเพื่ออนาคต ดร.ปกรณ์ เพ็ชรประยูร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมภูมิสารสนเทศ (GISTDA) สภาลมหายใจ จ.เชียงราย นายอำเภอเชียงแสน เชียงของ และเวียงแก่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ กล่าวว่า ปัจจุบัน จ.เชียงราย มีประกาศห้ามเผาเป็นเวลา 76 วัน ไปจนถึงวันที่ 15 เม.ย.67 ช่วงนี้ยังไม่ใช่ช่วงเกิดฝุ่นละอองและฝุ่นควัน หรือ PM 2.5 สูงสุด โดยในช่วงที่สูงสุดจะอยู่ในช่วงกลางเดือน มี.ค.-เม.ย. ซึ่งการหารือร่วมกันในครั้งนี้จึงเป็นเรื่องที่ดีที่ได้มีความร่วมมือไทย-สปป.ลาว เพื่อลมหายในของประชาชนทั้ง 2 ประเทศ ขณะทีทาง GISTDA อธิบายถึงการเกิดจุดความร้อนหรือ Hot Spot รวมทั้งทิศทางลมซึ่งทำให้ฝุ่นลอยไปมาได้ทุกประเทศ
ในการเสวนาระหว่างหน่วยงานไทยและเจ้าเมืองในแขวงบ่อแก้วทั้ง 3 ท่าน ได้มีการเปิดประเด็นเพื่อหาวิธีการตั้งคณะทำงานร่วมมือป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองและหมอกควันร่วมกันในระดับที่ใหญ่กว่าเมืองต่อเมืองดังกล่าว ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ทั้ง 3 เมืองให้ความเห็นว่ามีความเป็นไปได้หากจะขยายเป็นระดับ จ.เชียงราย กับแขวงบ่อแก้ว แต่นำเสนอให้แก้ปัญหาต้นทางคือการถางป่าทำไร่เพื่อทำสินค้าเกษตรมาจำหน่าย ซึ่งก็ต้องมาคิดว่าหากไม่ให้ถางป่าทำไร่แล้วจะทดแทนประชาชนเหล่านี้ได้อย่างไร ในเบื้องต้นจึงต้องมีอบรมให้ความรู้และทำแผนงานโครงการต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงผลกระทบของ Pm 2.5 ซึ่งฝ่ายไทยเสนอว่าเคยมีการประชุมคณะกรรมการศูนย์สั่งการชายแดนไทย-ลาว ระหว่าง จ.เชียงราย และแขวงบ่อแก้ว เมื่อวันที่ 10-11 เม.ย.2566 มีบันทึกความร่วมมือในข้อตกลงป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละออง ดังนั้นการจัดตั้งกลไกลร่วมกันสามารถอ้างอิงจากข้อตกลงนี้ได้โดยทาง GISTDA ยินดีให้การสนับสนุนข้อมูล
ท่านทิพกร มณีคำ เจ้าเมืองห้วยทราย กล่าวว่าเมืองห้วยทรายได้มีมาตรการเดียวกับทุกเมืองทั่วแขวงบ่อแก้วคืนมีการแต่งตั้งพนักงานกสิกรรมและลงพื้นที่ไปกว่า 10 พื้นที่เรียบแม่น้ำโขงโดยมีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อไม่ให้มีการเผาและไฟไม่ลามป่าแล้ว กระนั้นก็ยอมรับว่าการเผาเพราะเป็นเมืองใหญ่มีกว่า 82 บ้าน จึงยังคงมีแต่ก็พยายามจำกัดให้ได้มากที่สุด บางจุดไม่ให้ปลูกพืชเลย 3 ปีโดยมีกองทุนไปให้แลกกับการไม่ให้มีการผา
นายวีรวิชญ์ เอียรชัยนันท์ ผู้อำนวยการโครงการแม่โขงเพื่ออนาคต กล่าวว่า ที่อินโดนีเซียซึ่งเคยมีการแผ้วถางเพื่อปลูกยางพาราโดยบริษัทร่วมทุนจากอินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย ต่อมารัฐบาลทั้ง 3 ประเทศได้หารือเพื่อควบคุมไม่ให้มีการเผาเพราะฝุ่นละอองจะกระทบต่อทั้ง 3 ประเทศซึ่งสามารถใช้เป็นตัวอย่างเทียบเคียงเระหว่างไทย-สปป.ลาว-เมียนมา ได้ สำหรับประเทศไทยได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 กว่า 900,000 คน หรือเฉลี่ยวันละกว่า 20,000 บาท ไม่รวมการเกิดมะเร็งปอดและอื่นๆ และยังกระทบกับการท่องเที่ยว ซึ่งตนได้พบปะกับภาคเอกชนและเกษตรกรทราบว่าเกิดจาการปลูกร่อ้อยและข้าวโพดมากที่สุด ซึ่งกรณีในประเทศไทยได้มีการหารือระดับนานาขาติเพื่อให้ผู้จำหน่ายเครื่องดื่ม เช่น โคคาโคล่า เป๊ปซี่ ให้งดซื้อน้ำตาลจากไร่อ้อยที่มีการเผาซึ่งเอกชนในประเทศไทยก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ส่วนพืชประเภทข้าวโพดยังอยู่ระหว่างหารือ
“เบื้องต้นทราบว่าเกษตรกรมีรายได้จากการปลูกข้าวโพดปีละ 1,000-2,000 บาท หรือปีละประมาณ 100,000 บาท จึงได้หารือกับภาคธุรกิจด้านนักท่องเที่ยวว่าสามารถนำรายได้หากไม่มีการเผาไปชดเชยให้กับเกษตรกรตรงจุดนี้ได้หรือไม่ หรืออาจจะใช้วิธีการเดียวกับในประเทศสหรัฐอเมริกาคือปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ชา กาแฟ แมคคาเดเมีย ฯลฯ หรือใช้ถ่ายคาบอนด์ ฯลฯ เพื่อไม่ให้มีการต้องเผาต่อเนื่องทุกปี” ผู้อำนวยการโครงการแม่โขงเพื่ออนาคต กล่าว
ผศ.ดร.นิอร สิริมงคลเลิศกุล ที่ปรึกษาโครงการห้องเรียนสู้ฝุ่น กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้เป็นการจัดงานในหัวข้อ ลมหายใจ ไทย – ลาว ครั้งที่ 2 สืบเนื่องจากความร่วมมือ เมืองปากทา โดยห้องเรียนสู้ฝุ่นได้มอบเครืองวัดปริมณฝุ่นให้กับเมืองปากทา สปป.ลาว เพื่อให้ได้ใช้ในการวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ซึ่งเรามองว่าเรื่องอากาศและเรื่องสุขภาพเป็นนเรื่องเดียวกัน ซึ่งมีผู้ป่วยโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง หญิงมีครรภ์ เด็ก ผู้ป่วยในด้านทางเดนทางใจที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบต่างๆ สร้างควารับรู้ค่อนข้างน้อย ซึ่งมองว่าไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ใด โดยเฉพาะลุ่มแม่น้ำโขงเราอยู่ในวัฒนะธรรมเดียวกัน ลมหายใจเดียัน จึงทำให้เกิดการประชุมครั้งที่ 2 ขึ้น โดยได้เริ่มต้นโดย 3 เมืองฝั่งไทย และ 3 เมืองฝั่ง สปป.ลาว ที่มีแม่น้ำโขงเป็นลมหายใจเดียวกัน จะร่วมมือกันอย่างไร เราจึงสร้างองค์ความรู้ร่วมกันระหว่างพรมแดน เพื่อจะสร้างความรู้ให้กับคนรุ่นใหม่ เพื่อจะได้รับมือกับมัน
“สาเหตุของการเกิดหมอกควันมันมีความซับซ้อน ซึ่งมันจะต้องใช้เวลานานในการแก้ไขปัญหา แต่เรามองว่าเรื่องการตั้งรับเราสามารถดำเนินการได้เลย ทั้งฝั่งไทย และ สปป.ลาว ซึ่งการเริ่มต้นถือเป็นความร่วมมืออันดี อย่างน้อยเราจะได้ร่วมกันรักาสุขภาพ และพัฒนาร่วมกันในด้านความร่วมมือในองค์ความรู้ในเรื่องต่างๆง เหล่านี้ และเป็นการสานต่อใการสื่อสารถึงสถานการณ์ร่วมกัน ว่าในฝั่งประทศไทย เป็นอย่างไร สปป.ลาวเป็นอย่างไร แลกเปลี่ยนเรื่องปัญหา การรับมือ ซึ่งต่อไปจะเป็นเรื่องของโลกร้อนที่จะร่วมมือกันในขั้นต่อไป และเชื่อว่าคนรุ่นใหม่จะรับมือกับวิกฤติฝุ่นได้อย่างปลอภัยในอนาคตข้างหน้า” ที่ปรึกษาโครงการห้องเรียนสู้ฝุ่น กล่าว