พะเยา ลีลาฟ้อนเจิง ศิลปป้องกันตัวชายชาตรีล้านนา

วันที่ 4 ธ.ค.66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จังหวัดพะเยาเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีศิล วัฒนธรรมแบบล้านนาที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ซึ่งหาดูได้ยาก คือศิลปะการฟ้อนเจิง หรือการฟ้อนรำป้องกันตัวด้วยท่าทางลีลาที่มีทั้งเท้าแขนขามือ เพื่อป้องกันตัวจากคู่ต่อสู้ และยังเป็นศิลปของการร่ายรำที่สวยงามแบบล้านนาของชายชาตรี ยุคสมัยโบราณจะใช้ในการต่อสู้และการร่ายรำแสดงโชว์ความสามารถการแสดงตัวตนว่ามีความแข็งแรง มีชั้นเชิง อ่อนช้อยแต่ดุดันแข็งแรง ทางพระสงฆ์คนเฒ่าคนแก่ ชุมชนวัดเมืองชุม ต.แม่ต๋ำอ.เมือง จ.พะเยา จึงได้ร่วมอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นใหม่ได้ดูและศึกษาไว้

ทั้งนี้ การฟ้อนเจิงเป็นนาฏกรรมที่สะท้อนรูปแบบศิลปวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของคนไทยทางภาคเหนือที่ ใช้ศิลปะป้องกันตัว ยุคสมัยโบราณผู้ชายชาวล้านนามักจะมีการเรียนรู้ “เจิง” เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันภัยให้กับตัวเอง ด้วยรูปแบบและลีลาท่าทางในการแสดงออกที่มีทั้งความเข้มแข็ง สง่างาม ที่ซ่อนเร้นแบบมีชั้นมีเชิง ใช้ในการฟ้อนที่สามารถใช้ป้องกันตัวได้ และถือว่าเป็นวิชาป้องกันตัวอย่างหนึ่งคล้ายมวยไทย ที่มีอันเอกลักษณ์เป็นวิชาป้องกันตัวของชายชาตรีล้านนาที่ต้องมีไว้กันทุกคน ซึ่งปัจจุบันจะหาดูได้ยาก

สำหรับการฟ้องเจิงปัจจุบันมีนำมาแสดงเล่นตามงานวัด หรือพิธีงานต่างๆจะมีเครื่องดนตรี พื้นเมือง ฆ้อง กลอง ปี่ แน ฉิ่งฉาบ เล่นบรรเลงให้กับคนฟ้อนเจิงเพื่อให้เข้ากับจังหวะลีลาท่าทาง อย่างสนุกสนานกับลีลาฟ้องเจิง ที่มีชั้นเชิงแต่แฝงด้วยความแข็งแรง ต่อสู้ป้องกันตัวซึ่งปัจจุบันหาดูได้ยาก คนเฒ่าคนแก่จึงได้อนุรักษ์ให้คนรุ่นหลังได้สืบทอดไว้

ปัณณวิชญ์ อยู่ดี จ.พะเยา