“บ้านกร่าง”ตำบลเข้มแข็งชนะเลิศระดับจังหวัดพิษณุโลก ลบรอยอดีต”เมืองคนพาล บ้านคนดุ ดินแดนอาณาจักรเถื่อน”

คณะกรรมการคัดสรรกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่นระดับจังหวัดพิษณุโลก ประจำปี 2567 มีมติให้ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมืองพิษณุโลก ได้รับรางวัลชนะเลิศตำบลเข้มแข็ง โครงการคัดสรร 2 ประเภท คือ

  1. โครงการตำบลเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ตำบลบ้านกร่าง
  2. โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” ได้แก่ บ้านเหนือรุ่งอรุณ หมู่ที่ 12 ตำบลบ้านกร่าง

นับว่าเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงการบริหารจัดการภายใต้การนำ ร.ต.อ.เอกธนัช เจริญสุข นายก อบต.บ้านกร่าง นายนายวิโรจน์ ยอดเพชร และนายนเรต คุดช่วง รอง นายก อบต.บ้านกร่าง ว่าที่ร้อยตรี ธรรมนูญ ท้าวฮ้าย เลขานุการนายก อบต.บ้านกร่าง ในฐานะประสภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองพิษณุโลก นางสาวจิณภัค แจ้งไพร ปลัด อบต.บ้านกร่าง นายอดุลย์ โมลา ประธานสภา อบต.บ้านกร่าง รวมทั้งบุคลากรและเจ้าหน้าที่ อบต.บ้านกร่าง ประการสำคัญกำนัน -ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมแรงร่วมใจในการขับเคลื่อน

กลไกการพัฒนาตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของตำบลบ้านกร่าง เป็นการรวมพลัง 7 ภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย ภาคราชการ ภาควิชาการ ภาคผู้นำศาสนา ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และภาคสื่อสารมวลชน ทำให้ตำบลบ้านกร่าง มีความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงในชีวิต ความสามัคคีปรองดอง ยึดหลักประชาธิปไตยปลอดอบายมุขและยาเสพติด บริหารจัดการชุมชน

การขับเคลื่อนกิจกรรมมี 3 มิติ ดังนี้ มิติที่ 1 ด้านความมั่นคง ประกอบด้วย การสร้างความมั่นคงทางอาหารในชีวิตของประชาชน การสร้างความสามัคคีปรองดอง การยึดหลักประชาธิปไตย การปลอยบายมุขและยาเสพติด และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการชุมชน

มิติที่ 2 ด้านความมั่งคั่ง การสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม การจ้างและพัฒนาแหล่งทุนชุมชน การสร้างเศรษฐกิจให้เข้มแข็งและยั่งยืน

มิติที่ 3 การส่งเสริมการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติตนเป็นวิถีชีวิตการอนุรักษ์ปกปักรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน การพึ่งพาตนเองและการมีส่วนร่วมของภาคภาคีเครือข่าย

องค์ประกอบที่ทำให้ตำบลบ้านกร่างเป็นชุมชนเข้มแข็ง มีดังนี้ ศูนย์ข้าวชุมชนตำบลบ้านกร่างท่าวัว วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงผึ้งพันธุ์บ้านน้ำอับวิสาหกิจชุมชนไก่เหลืองหางขาวกลุ่มวิสาหกิจผ้าทอไทย กลุ่มส่งเสริมอาชีพเกษตรจักสาน อานุฟาร์มจิ้งหรีด นอกจากนั้นมีกลุ่มศิลปะประดิษฐ์ กลุ่มขนมไทยโบราณ งานแพทย์แผนไทย ชุมชนเกษตรอินทรีย์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บึงแม่ระหัน มีพื้นที่ 920 ไร่ ที่ใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง

ตำบลบ้านกร่าง มีพื้นที่ 43.9 ตารางเมตรจำนวน 37,033 ไร่ มีประชากร 12,602 คน สภาพชุมชนเป็นสังคมเมืองกึ่งชนบท ในพื้นที่ตำบลบ้านกร่างมีซากปรักหักพังร่องรอยของวัดวาอารามในอดีตไม่น้อยกว่า 30 วัด มีคลองยมราชเลื้อยผ่านพื้นที่ยาวไม่ต่ำกว่า 8 กิโลเมตร ตั้งแต่วัดพระขาวชัยสิทธิ์ไปเชื่อมต่อกับคลองบางแก้ว พื้นที่ตำบลท่านางงาม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต

ปัจจุบันมีวัดที่พุทธศาสนิกชนบำเพ็ญศาสนกิจจำนวน 8 วัด ได้แก่ วัดพระขาวไทยสิทธิ์ วัดนิมิตธรรมาราม วัดเด่นโบสถ์โพธิ์งาม วัดเกาะแหลมโพธิ์ วัดบ้านแม่ระหัน วัดธรรมเกษตร วัดพญายมราช และวัดป่าเลไลย์

มีสถานศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย โรงเรียนบ้านกร่างพระขาวชัยสิทธิ์ โรงเรียนวัดธรรมเกษตร โรงเรียนวัดแหลมโพธิ์ (ขยายโอกาส) โรงเรียนบ้านแม่ระหัน โรงเรียบ้านกร่างวิทยาคม และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาพิษณุโลก และยังมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอีกจำนวน 3 ศูนย์ คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกร่างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแม่ระหัน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแหลมโพธิ์

“บ้านกร่าง”จากเกร็ดประวัติศาสตร์มีเรื่องเล่าขานกันต่อๆมาว่า “ไก่เหลืองหางขาว” ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช นำไปชนชนะ “มังกะยอชวา” พม่านั้นเป็นไก่จากบ้านหัวแท ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมืองพิษณุโลก

ดังปรากฏในหนังสือมหาราชชาติไทย เขียนโดย“ประกอบ โชประการ“มีข้อความตอนหนึ่งว่า “การชนไก่เป็นที่นิยมของชาวพม่าในสมัยนั้นเป็นที่สุด แม้แต่ในพระราชสำนักก็เป็นที่นิยมสูงตามประกวดพระขรรค์หาไก่ชนชั้นยอดมาเลี้ยงปนเปรอให้แกร่งกล้าแข็งแรงทรหดอดทน มีการค้าพนันตีไก่กันเสมอมิได้ขาด”

ลูปีพุทธศักราช 2114 มังกะยอชวา กับพระนเรศวร ตีไก่กันเป็นหนแรกเพราะทรงเห็นว่าพระนเรศวร เพิ่งเริ่มเลี้ยงไก่คงจะชนะไก่พระนเรศวร ได้ไม่ยากนัก แต่กลับปรากฏว่าไก่ของมังกะยอชวา ที่เคยตีชนะเป็นที่ขึ้นชื่อลือชามานักต่อนักแล้วกลับเป็นฝ่ายพ่ายแพ้แก่ไก่เลี้ยงใหม่ของพระนเรศวร อย่างไม่มีทางสู้เป็นเหตุให้มังกะยอชวา เกิดโมหะจิตตรัสประชดประชันเป็นเชิงเหยียดหยามพระนเรศวร ขึ้นด้วยสุรเสียงอันดังว่า“ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริงนะ” พระนเรศวร ทรงระคายเคืองพระทัยจนมิอาจส่งระงับพระโทสะไว้ได้ จึงตัดตอบโต้ ด้วยพระสุรเสียงอันดังว่า “อย่าว่าแต่ตีพนันกันเท่านี้เลยไก่เชลยตัวนี้ทตีพนันเอาบ้านเอาเมืองกันเมื่อไหร่ก็ได้”

บ้านกร่าง ถิ่นไก่ชนสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ดินแดนแห่งนี้จะเป็นตำนานที่ต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ของชาติอีกแง่มุมหนึ่ง และคงสามารถลบรอยอดีต เมืองคนพาลบ้านคนดุ โดยสิ้นเชิง

กร บ้านกร่าง /รายงาน