รพ.อุตรดิตถ์ จัดกิจกรรม พบสื่อมวลชน เพื่อสร้างสรรค์ลดอัตราการฆ่าตัวตาย

วันที่ 7 มิถุนายน 2567 ที่ห้องประชุมมเหสักข์ ชั้น 7 ตึกอาคาร 100 ปี สาธารณสุข โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ นายแพทย์ อายุส ภมะราภา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ แพทย์หญิงเนตรนภา ภมะราภา หน.กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ นายแพทย์สานิตย์ ศรีเพชร จิตแพทย์ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม

โดยนายณรงค์ พันธ์ เจนประกอบกิจ ประชาสัมพันธ์จังหวัดอุตรดิตถ์ และสื่อมวลชนในพื้นที่จำนวนกว่า 20 คน เข้าร่วมกิจกรรม ในวันนี้ทางโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ได้มีแนวทางสื่อสร้างสรรค์ เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย ซึ่งจากรายงานสถิติการฆ่าตัวตายของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2566 พบว่าคนไทยเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย5,172 คนหรือเท่ากับ 7.94 ต่อแสนประชากร เฉลี่ยวันละ 14 คน หรือเสียชีวิต 1 คนทุก 2 ชั่วโมง และพบว่าคนไทยพยายามฆ่าตัวตาย 31,110 คน หรือเท่ากับ 47.74 ต่อแสนประชากร เฉลี่ยวันละ 85 คน หรือมีผู้พยายามฆ่าตัวตาย 7 คน ในทุก 2 ชั่วโมง และพีระมิด ของการฆ่าตัวตาย ยอดบนสุดคือ ฆ่าตัวตาย ขยับลงมาพยายามฆ่าตัวตาย ขยับลงมา มีแผนฆ่าตัวตาย ขยับลงมา คิดฆ่าตัวตายและฐานล่างสุดพีระมิดคือ ไม่คิดฆ่าตัวตาย ในสถานการณ์ปัจจุบัน

จังหวัดอุตรดิตถ์มีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ 54-65 คนต่อแสนประชากร ซึ่งเกินเกณฑ์ที่กำหนด ปัจจุบันกลุ่มที่คิดฆ่าตัวตายจะอยู่ในกลุ่มวัยรุ่น-ระดับอุดมศึกษา กลุ่มที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ คือกลุ่มผู้สูงอายุ สาเหตุที่ฆ่าตัวตาย คือ 1.โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรควิตกกังวล โรคจิตประเภท 2.โรคบุคลิกภาพแปรปรวน 3. ผู้ป่วยติดสุรา และสารเสพติด เช่น ยาบ้า กัญชาที่ใช้จนมีอาการทางจิต 4.ผู้ป่วยโรคเรื้อนรังทางกายที่รักษาไม่หาย เช่น โรคมะเร็ง โรคเอดส์ 5. ภาวะเจ็บป่วยเรื้อนรัง 6. ปัญหาความสัมพันธ์และหนี้สิน ผู้ที่คิดจะฆ่าตัวตายมักส่งสัญญาณเตือนให้คนรอบข้างหรือคนที่ใกล้ชิดได้รับทราบ อาทิ เราคงจะไม่ได้เจอกันอีกแล้วนะ ฝากดูแลคนในครอบครัวด้วย ตีตัวออกห่างจากสังคมและโลกภายนอก เก็บตัวอยู่คนเดียว คิดว่าตนเองไม่มีค่ากับคนอื่น หรือพูดว่าอยากตายหรือไม่อยากจะมีชีวิตอยู่ คนรอบข้าง

หากสังเกตอาการเหล่านี้ได้ทันจะนำไปสู่การเฝ้าระวังและการให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที กรณีที่พบว่ามีผู้พยายามที่จะฆ่าตัวตายให้รีบโทรหา 1669 ทันที เพื่อทำการรับมาส่งต่อเพื่อทำการรักษาตามกระบวนการของจิตแพทย์ในโรงพยาบาลต่างๆได้อย่างทันท่วงที หรือมีปัญหา โรคเครียด โรคซึมเศร้า โทรหาสายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ปวินท์ อินกล่ำ รายงาน