ธ.ก.ส.ฝ่ายกิจการภาคเหนือตอนล่าง แถลงผลงาน และจัดกิจกรรมส่งเสริมตลาดออนไลน์ “Farm me market”

เมื่อวันที่ 6 ก.พ 2567 เวลา 13.30 น. ธ.ก.ส.ฝ่ายกิจการภาคเหนือตอนล่าง จัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์กับสื่อมวลชน 9 จังหวัด พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ ตาก นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร สุโขทัย และอุทัยธานี โดยร่วมกันทำบุญทอดผ้าป่าและชมโบสถ์รากไม้ที่วัดถ้ำเขาประทุน จากนั้นได้พาคณะสื่อมวลชนไปเยี่ยมชมป่าครอบครัวและฟังบรรยายการจัดการป่าครอบครัวโดยใช้ BCG MODEL จาก ดร.มด นายศิริพงษ์ โทหนองตอ ที่ศูนย์ถ่ายทอดนวัตกรรมป่าครอบครัวแพนด้าแคมป์ ต.บ้านไร่ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี

ต่อมาวันที่ 7 ก.พ. 2567 เวลา 9.00 น. ที่ห้องประชุม ห้วยป่าปก รีสอร์ท นายภูมิ เกลียวศิริกุล ผู้อำนายการสำนักงาน ธ.ก.ส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนล่าง (ฝนล.) ได้เผยผลงาน 3 ไตรมาส ของปีบัญชี 2566 พร้อมการขับเคลื่อนนโยบายรัฐในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ฝนล. รายงานผลงาน 3 ไตรมาสแรกปีบัญชี 2566 จ่ายสินเชื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคชนบทระหว่างปีไปแล้วกว่า 66,103.46 ล้านบาท ควบคู่การสนับสนุนนโยบายรัฐในการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร การลดภาระหนี้เกษตรกร ผ่านโครงการพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อย และการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้กับเกษตรกรและบุคคลในครัวเรือน พร้อมเดินหน้าภารกิจองค์กรสู่การเป็นแกนกลางการเกษตร ที่ให้บริการทางการเงินและการเชื่อมโยงองค์ความรู้ในการต่อยอดธุรกิจภาคการเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสร้างมูลค่าเพิ่ม การทำการตลาด การพัฒนาและยกระดับชุมชนในการสร้างรายได้และการดูแลสิ่งแวดล้อมภายใต้หลัก BCG คาดไตรมาสสุดท้ายเติบโตได้ตามเป้าหมาย


ในส่วนของ ธ.ก.ส. ได้มีการปรับโครงสร้างองค์กร ให้สามารถปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่าง รวดเร็วและตลอดเวลา อาทิ การปรับปรุงกระบวนการทำงานแบบ Agile-working การใช้เทคโนโลยีและฐานข้อมูลมาใช้
ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกค้า การเติมความรู้และทักษะให้กับพนักงาน และการใช้จุดแข็งขององค์กรคือ “คนของเรารัก ลูกค้า” ในการเข้าถึงและเข้าใจลูกค้าเพื่อสนับสนุนและต่อยอดการผลิตสินค้าเกษตรของลูกค้าให้มีมาตรฐานตรงกับ ความต้องการของตลาด รวมถึงการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ไปสู่เกษตรมูลค่าสูง
นายภูมิ เกลียวศิริกุล กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีบัญชี 2566 (1 มกราคม – 31 มีนาคม 2567) ธ.ก.ส. ยังมุ่งดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ ในการพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ทั้งด้านผลิตภัณฑ์และบริการ เช่น การส่งเสริม ให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและบริการทางการเงินที่ทันสมัยอย่างครบวงจรด้วยต้นทุนที่ต่ำและรวดเร็ว โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานในการให้บริการลูกค้า เช่น การพัฒนา Mobile Application และ Self Service Machine เป็นต้น

ด้านการพัฒนาลูกค้า สนับสนุนเกษตรกรในการวางแผนบริหารจัดการการผลิตให้ สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคในตลาด เพิ่มช่องทางการตลาดให้กับลูกค้าทั้งรูปแบบ Offline และ Online โดยผ่าน Platform “Farm Me Market” ทำให้เกษตรกรสามารถกำหนดราคาสินค้าได้อย่างเหมาะสม และ ป้องกันราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และการสนับสนุนองค์ความรู้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเกษตรกร ผ่านความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเครือข่ายในรูปแบบ 1U1C (1 University 1 Community) เพื่อพัฒนามาตรฐานในการ ผลิตสินค้าเกษตร เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการใช้นวัตกรรม การแปรรูปและ การดีไซน์ ควบคู่กับการส่งเสริมวินัยทางการเงินอย่างเป็นระบบด้วยการเตรียมความพร้อมให้เกษตรกรเกษียณอายุอย่างมี คุณภาพ ผ่านการสร้างกองทุนเงินเกษียณอายุ
นอกจากนี้ ธ.ก.ส. ได้ยกระดับชุมชนที่ดำเนิน “โครงการธนาคารต้นไม้” ต่อยอดไปสู่ชุมชนไม้มีค่า เป้าประสงค์เพื่อเพิ่มรายได้ให้คนในชุมชน จากการปลูกต้นไม้ และต่อยอดไปสู่การจำหน่ายคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้เต็มรูปแบบผ่านโครงการ “BAAC Carbon Credit” อย่างเป็นทางการ

ในช่วงท้ายได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมตลาดออนไลน์ Farm me market โดยได้แนะ นำแอปพลิเคชั่น , การสั่งซื้อสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายใน Farm me market ในส่วนของ สำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดพิษณุโลก โดย นายวันชัย แก้วไทย ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดพิษณุ โลก นายสิงห์ คุ้ยเซี๊ยะ พนักงานพัฒนาลูกค้า 8 ได้นำ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพาะเห็ดบ้านท่าช้าง มาออกบูธจำหน่ายสินค้าบนตลาดออนไลน์ Farm me market อาทิ น้ำพริกนรก, น้ำพริกฉู่ฉี่ และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากเห็ด มาจำหน่ายในครั้งนี้ด้วย