ไทย-เมียนมา จับมือขุดลอกทำพนัง ป้องกันแม่น้ำสาย-แม่น้ำรวก ทะลักช่วงฤดูฝน 44.8 กม.

ปัจจุบันหน่วยทหารช่าง กองทัพบก ได้เข้าพื้นที่ปฏิบัติงานขุดลอกแม่น้ำรวก อ.แม่สาย จ.เชียงราย ชายแดนไทย-เมียนมา อย่างต่อเนื่อง หลังจากประเทศไทยและเมียนมา ได้ทำข้อตกลงในการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำสาย-น้ำรวก ความยาวรวม 44.8 กิโลเมตร โดยฝ่ายไทยจะทำการขุดลอกแม่น้ำรวก ตั้งแต่ Sta 12+800 ถึง Sta 26+800 (ต.เกาะช้าง อ.แม่สาย) ระยะทาง 14 กิโลเมต และกรมการทหารช่าง ดำเนินการขุดลอก แม่น้ำรวก ตั้งแต่ Sta 26+800 ถึง Sta 44+800 ระยะทาง 18 กิโลเมตร

โดยฝ่ายไทยจะทำการขุดลอกแม่น้ำรวก ตั้งแต่ Sta 12+800 ถึง Sta 26+800 (ต.เกาะช้าง อ.แม่สาย) ระยะทาง 14 กิโลเมต และกรมการทหารช่าง ดำเนินการขุดลอก แม่น้ำรวก ตั้งแต่ Sta 26+800 ถึง Sta 44+800 ระยะทาง 18 กิโลเมตร

ส่วนฝ่ายประเทศเมียนมา จะขุดลอกแม่น้ำสายทั้งเส้นตั้งแต่ Sta 0+000 ถึง Sta 12+800 รวมระยะทาง 12.8 กิโลเมตร เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย.68 กำหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ 20 มิ.ย.68 เพื่อให้ทันก่อนฤดูน้ำหลาก

นอกจากการขุดลอกฝ่ายไทยยังมีการก่อสร้างแนวป้องกัน ชั่วคราว -กึ่งถาวร ครอบคลุมความยาวแม่น้ำสาย รวม 3.60 กิโลเมตร จุดเริ่มต้นเขตแดนไทย-เมียนม sta 0+000 ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา แห่งที่ 1 sta 0+900 ไปสิ้นสุดที่ประตูน้ำชลประทาน sta 3+600 ภายใต้แนวความคิด 3 ประการ คือ

  1. ต้องป้องกันน้ำได้ 2. เป็นแนวป้องกันน้ำชั่วคราว เพื่อสอดรับกับยแผนการทำพนังกั้นน้ำถาวร ในอนาคต 3. เป็นรูปแบบที่ก่อสร้างได้รวดเร็ว ทันเวลา โดยสามารถต้านทานน้ำได้ภายใน มิ.ย.68 ก่อนฤดูน้ำหลาก โดยแบ่งแนวป้องกันเป็น 5 รูปแบบ ผสมผสานให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ดังนี้ 1 .การสร้างแนวป้องกันใหม่ 2 รูปแบบ – เขื่อนป้องกันตลิ่ง เข็มไอ เสียบแผ่น precast คอนกรีตหล่อสำเร็จ – กำแพงป้องกันน้ำ คสล.พร้อมฐานราก
  2. การเสริมความมั่นคงแนวป้องกันเดิม 1 รูบแบบ – BigBag เสริมแนวคันดินเดิม 3.การผสมผสานแนวป้องกันเข้ากับโครงสร้างอาคารบ้านเรือน 2 รูปแบบ – กำแพงป้องกันน้ำ เสาเหล็ก เสียบแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป – แผ่นเหล็กปิดช่องน้ำเข้า ตามอาคารริมน้ำ

ทั้งนี้เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย.68 โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 20 มิ.ย.68 ให้ทันก่อนฤดูน้ำหลากเช่นกัน.

ส่วนฝ่ายประเทศเมียนมา จะขุดลอกแม่น้ำสายทั้งเส้นตั้งแต่ Sta 0+000 ถึง Sta 12+800 รวมระยะทาง 12.8 กิโลเมตร เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย.68 กำหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ 20 มิ.ย.68 เพื่อให้ทันก่อนฤดูน้ำหลาก
นอกจากการขุดลอกฝ่ายไทยยังมีการก่อสร้างแนวป้องกัน ชั่วคราว -กึ่งถาวร ครอบคลุมความยาวแม่น้ำสาย รวม 3.60 กิโลเมตร จุดเริ่มต้นเขตแดนไทย-เมียนม sta 0+000 ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา แห่งที่ 1 sta 0+900 ไปสิ้นสุดที่ประตูน้ำชลประทาน sta 3+600 ภายใต้แนวความคิด 3 ประการ คือ

  1. ต้องป้องกันน้ำได้ 2. เป็นแนวป้องกันน้ำชั่วคราว เพื่อสอดรับกับยแผนการทำพนังกั้นน้ำถาวร ในอนาคต 3. เป็นรูปแบบที่ก่อสร้างได้รวดเร็ว ทันเวลา โดยสามารถต้านทานน้ำได้ภายใน มิ.ย.68 ก่อนฤดูน้ำหลาก โดยแบ่งแนวป้องกันเป็น 5 รูปแบบ ผสมผสานให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ดังนี้ 1 .การสร้างแนวป้องกันใหม่ 2 รูปแบบ – เขื่อนป้องกันตลิ่ง เข็มไอ เสียบแผ่น precast คอนกรีตหล่อสำเร็จ – กำแพงป้องกันน้ำ คสล.พร้อมฐานราก
  2. การเสริมความมั่นคงแนวป้องกันเดิม 1 รูบแบบ – BigBag เสริมแนวคันดินเดิม 3.การผสมผสานแนวป้องกันเข้ากับโครงสร้างอาคารบ้านเรือน 2 รูปแบบ – กำแพงป้องกันน้ำ เสาเหล็ก เสียบแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป – แผ่นเหล็กปิดช่องน้ำเข้า ตามอาคารริมน้ำ

ทั้งนี้เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย.68 โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 20 มิ.ย.68 ให้ทันก่อนฤดูน้ำหลากเช่นกัน…

บก.เจี๊ยบแม่สายนิวส์ออนไลน์ / รายงาน

error: Content is protected !!