ล้านช้าง – แม่โขง สร้างผู้นำเยาวชน เพื่อความร่วมมือด้านน้ำในระดับภูมิภาค

คณะผู้แทนจากกลุ่มประเทศล้านช้าง-แม่น้ำโขง ซึ่งประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้กำหนดนโยบาย ผู้นำเยาวชน นักวิจัย หน่วยงานภาคประชาสังคม และสถาบันวิชาการ จำนวนประมาณ 40 คนได้เข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือและดูงานในพื้นที่จังหวัดเชียงรายในการประชุมปรึกษาหารือเชิงปฏิบัติเพื่อสร้างความเป็นผู้นำ ให้ความรู้ และส่งเสริมความสามารถของเยาวชนและคนทำงานรุ่นใหม่ในเรื่องทรัพยากรน้ำและการจัดการลุ่มน้ำในภูมิภาค

ในปัจจุบันนี้มีหลายโครงการในภูมิภาคล้านช้าง-แม้น้ำโขงที่ให้ความสำคัญกับการศึกษา การสร้างความตระหนักรู้ และการเสริมสร้างขีดความสามารถให้กลุ่มเยาวชนและเครือข่าย อย่างไรก็ตาม ความพยายามให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆนอกเหนือจากกรอบโครงการตามความสมัครใจมักเป็นเรื่องยาก

กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (Mekong – Lancang Cooperation: MLC) มีความสนใจที่จะสนับสนุนให้ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นเยาวชนรวมได้ใช้ความสามารถและการทำเพื่อสังคมของพวกเขาในงานด้านการพัฒนาและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคมากขึ้น จากแถลงการณ์ในที่ประชุมผู้นำของกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (Mekong – Lancang Cooperation: MLC) ครั้งที่ 1 ในปฏิญญาซานย่า (Sanya Declaration) ท่านผู้นำประเทศของกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างพร้อมจะส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ความสามารถในหมู่เยาวชนเพื่อสร้างเครือข่ายมันสมองระหว่าง 6 ประเทศสมาชิกในอนาคต

นอกจากนี้จากการแถลงการณ์ร่วมกันล่าสุดระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศแม่โขง-ล้านช้าง (Mekong – Lancang Cooperation: MLC) เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2564 ยืนยันว่า “ข้อตกลงของกลุ่มประเทศล้านช้าง-แม่โขงจะส่งเสริมความร่วมมือในกลุ่มเยาวชนเพื่อผลประโยชน์ต่อทุกคน ความร่วมมือในเรื่องการศึกษาและทรัพยากรมนุษย์จะได้รับการส่งเสริมเพื่อช่วยประเทศในภูมิภาคล้านช้าง-แม่น้ำโขงให้มีบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์มากขึ้นและมีแรงงานที่ความสามารถ”

การประชุมปรึกษาหาเรือเชิงปฏิบัติระดับภูมิภาคในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างพันธมิตรและความพยายามในการส่งเสริมความสามารถที่มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนเยาวชน ผู้นำและคนทำงานรุ่นใหม่ในภูมิภาคให้เป็นส่วนหนึ่งในความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำในอนาคต

การอบรมในครั้งนี้นำไปสู่ระบบการจัดการน้ำในภูมิภาคและความร่วมมือที่ดีขึ้นภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (Mekong – Lancang Cooperation: MLC) ที่จะทำให้ผู้นำเยาวชนและเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น

การประชุมปรึกษาหารือเชิงปฏิบัติการดังกล่าวก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ประสบความสำเร็จ ดังนี้

  • เสริมสร้างพันธมิตรระหว่างผู้นำเยาวชนจากกลุ่มประเทศล้านช้าง-แม่โขงเพื่อความร่วมมือในอนาคต
  • ส่งเสริมความเข้าใจจากโอกาสและความท้าทายของความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำในภูมิภาคด้วยการเรียนรู้จากโครงการข้ามพรมแดนในกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (Mekong – Lancang Cooperation: MLC) ที่ได้ดำเนินงานมาในอดีต
  • การนำเสนอการผลการศึกษาในขั้นต้นจากการทบทวนเครือข่ายและโครงการที่เกี่ยวกับเยาวชนที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งผลการศึกษานี้จะใช้เป็นแนวทางในการออกแบบแผนกิจกรรมต่างๆในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายผู้นำเยาวชนด้านน้ำในภูมิภาค
  • ส่งเสริมความสามารถของผู้นำเยาวชนในความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำของกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (Mekong – Lancang Cooperation: MLC) ในด้านการสื่อสาร การวางแผนการทำงานระหว่างหลายประเทศ และความร่วมมือข้ามแดน

Photo: Rajesh Daniel/ SEI Asia

sการศึกษาดูงานและเยี่ยมชมสถานที่เกี่ยวกับการจัดการน้ำ

ผุ้เข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือเชิงปฏิบัติได้เดินทางไปศึกษาดูงานในสถานที่ต่างๆเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และข้อคิดเห็นกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องการจัดการน้ำในภูมิภาค ดังนี้

  1. “การประเมินสถานการณ์น้ำท่วมและภัยพิบัติร่วมกันระหว่างประเทศไทยและพม่าเพื่อการจัดการน้ำข้ามแดน” ในตำบลแม่สายซึ่งเป็นพื้นที่ศึกษาในโครงการความร่วมมือข้ามพรมแดนของกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (Mekong – Lancang Cooperation: MLC)
  2. “โฮงเฮียนแม่น้ำของ” เพื่อศึกษาทำความเข้าใจและแลกเปลี่ยนความรู้จากท้องถิ่นและการเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศน์ รวมถึงความเป็นอยู่ของชุมชนตามแนวแม่น้ำโขงและการเข้ามามีส่วนร่วมของเยาวชนในการรักษาทรัพยากรน้ำในชุมชน

งานประชุมปรึกษาหารือเชิงปฏิบัตการดังกล่าวจัดขึ้นโดยการสนับสนุนจากองค์กรที่เป็นผู้ดำเนินงานของโครงการได้แก่ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (Office of the National Water Resources – ONWR) สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Environmental Research Institute (ERIC), Chulalongkorn University) สถาบันสิ่งแวดล้อมสต็อกโฮล์ม (Stockholm Environment Institute – SEI) และศูนย์ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง (Lancang Mekong Water Resources Cooperation Water Centre – LMC Water Centre) โดยได้รับความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรอีกหลายองค์กรจาก 6 ประเทศสมาชิกและเครือข่ายในระดับภูมิภาคที่ทำงานร่วมกับเยาวชนและคนทำงานรุ่นใหม่ในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง