กองทัพภาคที่ 3 จัดกิจกรรมจิตอาสาปรับปรุงภูมิทัศน์ ทำความสะอาด ตัดหญ้า เก็บขยะ ตัดแต่งกิ่งไม้ ในบริเวณวัดอรัญญิก ตำบลอรัญญิก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึง และแสดงออกถึงความจงรักภักดีที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

ทั้งนี้ได้จัดกำลังพลจากหน่วยขึ้นตรงกองทัพภาคที่ 3 และกองบัญชาการช่วยรบที่ 3 ร่วมด้วยนักศ๊กษาวิชาทหาร ร่วมกิจกรรมจำนวน 700 นาย

วัดอรัญญิก ตั้งอยู่ถนนพญาเสือ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก มีพื้น 73 ไร่ 1 งาน 6 ตารางวา มีโบราณสถานตั้งอยู่ในบริเวณกลางพื้นที่ของวัด กรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อปีพุทธศักราช 2479

วัดอรัญญิก ปรากฎหลักฐานว่าสร้างขึ้นในปีพุทธศักราช 1620 ก่อนกรุงสุโขทัยแต่ไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้สร้างสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อมกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร สถานที่ประดิษฐานพระพุทธชินราชแต่วัดอรัญญิกตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออก ห่างจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารประมาณ 1 กิโลเมตร มีอณาบริเวณกว้างขวางอุดมสมบูรณ์ไปด้วยไม้นานาพันธุ์ เป็นที่ร่มรื่น เงียบสงัดเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม บริเวณกลางวัดมีเกาะล้อมรอบด้วยน้ำ เป็นที่ตั้งของสาธารณะสถานขนาดใหญ่ประกอบด้วย เจดีย์ประธาน อุโบสถวิหารหลวง วิหารน้อย วิหารคต ซุ้มพระประจำทิศ มณฑป เป็นต้น

วัดอรัญญิก สันนิษฐานว่า เป็นพระอารามหลวงมาแต่เดิม
พ.ศ.1904 รัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 พระญาลิไท แห่งกรุงสุโขทัย ครั้งเสด็จมาประทับเมืองพิษณุโลก 7 ปี สันนิษฐานว่ามีการขุดคูน้ำและสร้างพระวิหารด้านทิศตะวันออกของเจดีย์ประธาน

พ.ศ.2006 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถครอบสถาปนาเมืองพิษณุโลกเป็นราชธานีประทับเมืองพิษณุโลก 25 ปี ทรงสร้างพระเจดีย์รายเพิ่มเติมสร้างซุ้มพระ 4 ทิศ และระเบียงคต ล้อมรอบ 4 ด้าน ของเจดีย์ประธาน
พ.ศ.2127 เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชกรุงศรีอยุธยา ใช้เมืองพิษณุโลกเป็นฐานในการกอบกู้เอกราชก่อน และให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง
พ.ศ.2199 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชในคราวใช้เมืองพิษณุโลกเป็นฐานในการทำสงครามกับเชียงใหม่และให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์อีกครั้งหนึ่ง

พ.ศ.2318 หลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 อาแซหวุ่นกี้ แม่ทัพพม่ายกทัพเข้าล้อมเมืองพิษณุโลก เผาวัดทุกแห่งในเมืองพิษณุโลก เพื่อไม่ให้เป็นที่หลบซ่อนของทหารและชาวบ้าน รวมทั้งวัดอรัญญิกถูกเผาด้วยยกเว้นวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารเท่านั้น ที่ไม่ถูกเผาวัดอรัญญิกได้เสื่อมโทรมลง ชำรุด ทรุดโทรม ปรักหักพัง รกร้าง มีการขุดหาวัตถุมงคลและของมีค่าต่างๆจนสาศาสนสถานทุกชิ้นเสียหายยับเยิน แม้องค์เจดีย์ประธานเหลือเพียงยอดด้วน และฐานจมดิน กลับสู่สภาพป่ารกยังเหลือต้นยางสูงใหญ่เป็นเอกลักษณ์และสัญลักษณ์ของผู้หลงทางแห่งเมืองพิษณุโลกได้จดจำ

ก่อน พ.ศ.2500 มีคณะแม่ชี นำโดยแม่ชีพวง ซึ่งเป็นคนพื้นบ้านอรัญญิกเริ่มเข้ามาปรับปรุงบริเวณวัดอรัญญิก แต่ยังขาดปัจจัยหลายด้านในการบูรณะปฏิสังขรณ์
พ.ศ.2512 พระครูสมุห์แจ่ม สุธมฺโมภายหลังได้รับพระราชทินนามพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูประสาทธรรมวัตร” และต่อมาได้เป็นพระราชาคณะ ราชทินนามที่ “พระวรญาณมุนี” หรือที่คนเรียกทั่วไปว่า”หลวงตาละมัย”ได้นำคณะศรัทธาสร้างเสนาสนะต่างๆ เช่น อุโบสถ ศาลาการเปรียญและอื่นๆ
พ. ศ .2541 โบราณสถานในเกาะกลางน้ำ กรมศิลปากรได้ทำการสำรวจขุดค้นและตกแต่งจนเห็นเป็นรูปร่างบางส่วน ทั้ง พระเจดีย์ประธาน ช้างล้อมเจดีย์ลาย วิหารหลวง วิหารคต อุโบสถ มณฑป เป็นต้น

error: Content is protected !!