ส.ว.พิกุลแก้ว ชี้เขื่อนแควน้อยฯ ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ช่วยเหลือประชาชน ไม่ใช่ปัญหากฎหมาย(คลิป)
นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ สมาชิกวุฒิสภา
และประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในโอกาสคณะสมาชิกวุฒิสภา เดินทางมาพบปะประชาชนในพื้นที่อำเภอวัดโบสถ์ และอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ในระหว่างวันที่ 19-20 มกราคม 2566 นำโดยพลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 และประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน
นางพิกุลแก้ว กล่าวว่า การเดินทางมารับฟังปัญหาประชาชน ซึ่งมีเพื่อนสมาชิกวุฒิสภาต่างคณะกรรมาธิการฯ มีความรู้หลายๆด้าน รวมทั้งหน่วยราชการหลายกระทรวง การมาในวันนี้ที่ผ่านมาเราสัมฤทธิ์ผลในการช่วยเหลือหลายอำเภอของจังหวัดพิษณุโลก เมื่อรับเรื่องของประชาชนแล้ว จะประสานต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ
“เมื่อวานนี้ที่อำเภอวัดโบสถ์ เราได้เห็นถึงปัญหาเรื่องการจัดการน้ำที่มีผลกระทบต่อประชาชน ความจริงเจตนารมณ์ของการสร้างเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เพื่อให้ประชาชนได้มีน้ำใช้ความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ดีขึ้น ประชาชนก็มาร้องเรียนประชาชนยอมเสียสละให้เวนคืนพื้นที่ดิน และมีความหวังว่าจะได้ประกอบอาชีพได้บ้างในบริเวณพื้นที่สิ่งสำคัญคือหน่วยราชการไปทำสัญญากับเขาหรือว่าดูแล ทางด้านผู้อำนวยการเขื่อนทั้งหลายหลายท่านที่ผ่านมามีนโยบายต่างกัน ประชาชนในพื้นที่อยากทราบว่าจะช่วยเขาอย่างไรได้บ้าง ซึ่งการดูแลช่วยเหลือในการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ติดตามงาน”นางพิกุลแก้ว กล่าว
นางพิกุลแล้ว กล่าวอีกว่า เขื่อนแควน้อยบำรุงแดนมันไม่ใช่ปัญหาอะไรมากมาย ไม่ใช่ปัญหาทางด้านกฎหมาย เป็นเรื่องของการบริหารเราได้เห็นเขื่อนอื่นๆเปิดกว้างเช่นเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ทำได้หมดอยู่ที่วิสัยทัศน์ของผู้บริหารและกรมชลประทานด้วยจะมาอ้างหน่วยงานว่ามีขอบเขตจำกัดมันไม่ใช่ จะต้องประสานงานไปในพื้นที่หรือหน่วยอื่นๆ มีนโยบายอย่างไรที่จะช่วยเหลือประชาชน คณะกรรมาธิการฯ ไม่อยากให้หน่วยงานเดือดร้อน ซึ่งทางคณะสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เปิดโอกาสทุกคนแสดงความคิดเห็น
นายปราโมทย์ เมืองเปรม นายก อบต.คันโช้ง กล่าวถึงปัญหาความทุกข์ของชาวตำบลคันโช้งว่า เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระราชทาน เพื่อราษฎรทุกหมู่เหล่าโดยใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืน ในปร 2546 กลุ่มชลประทานได้เข้ามาดำเนินการ ก่อสร้างทำให้มีการเวนคืนที่ดินของคนตำบลคันโช้งเป็นจำนวนมาก และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีด้วยมีความคาดหวังว่าจะรับการดูแลและส่งเสริมอาชีพตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
นายปราโมท กล่าวอีกว่า ประการหนึ่งที่ได้สัญญาว่าจะทำเพื่อทดแทนให้ชาวบ้านที่เสียสละพื้นที่คือการสร้างแก่งเทียมทดแทนแก่งเจ็ดแคว ที่ถูกน้ำท่วมจากการสร้างขึ้นมีการออกแบบและตั้งงบประมาณไว้ที่ 46 ล้านบาท แต่โครงการนี้ไม่ได้เกิดขึ้น ต่อมาในช่วงปี 2556- 2561 คนตำบลคันโช้งได้จัดตั้งกลุ่มท่องเที่ยวตำบลคันโช้งขึ้น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนช่วงเดือนกุมภาพันธ์- เมษายนของทุกปี โดยจัดเทศกาล”นั่งแคร่แช่น้ำ”เพื่อให้นักท่องเที่ยวเล่นน้ำคลายร้อน มีซุ้มบริการอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น
” ขอให้ช่วยติดตามโครงการก่อสร้างแก่งเทียม ทดแทนแก่งเจ็ดแคว ขอจัดกิจกรรมนั่งแคร่แช่แช่น้ำในห้วงเวลา 2 เดือนเพื่อรายได้เสริมจากการไม่ได้ทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง ขอปรับพื้นที่รอบสระมรกต หมู่ที่ 1″นาขก อบต.คันโช้ง กล่าว
ต่อมา อดีตปลัด อบต.คันโช้ง และผู้เข้าร่วมประชุมกล่าวโจมตีการปฏิบัติหน้าที่ของกรมชลประทานอย่างเผ็ดร้อน ที่ไม่ได้ช่วยเหลือประชาชนหลายด้านตามแนวทาง แม้ว่าจะมีเขื่อนเกิดขึ้น โดยอ้างขัดต่อระเบียบ ประการสำคัญขาดระบบชลประทานในการทำเกษตรกรรม เนื่องจากไม่สามารถนำน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนแควน้อยมาใช้ได้เลย ปัจจุบันไม่ได้ช่วยเหลือแก้ไขปัญหาบรรเทาปัญหาความต้องการของคนตำบลคันโช้ง ห้วยสัก เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่นจำหน่ายผลิตภัณฑ์ร้านค้าชุมชน วางท่อระบบส่งน้ำท่อใยหินจากเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เพื่ออุปโภค-บริโภค
รายงานข่าวแจ้ง เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2566 คณะสมาชิกวุฒิสภา ได้ลงพื้นที่รับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่วัดน้ำโจน หมู่ที่ 4 ตำบลคันโช้ง อำเภอวัดโบสถ์ ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน