พิษณุโลก ผู้ว่าฯ-TCEP-TIEFA แถลงข่าว L’Etape Phitsanulok by Tour de France พร้อมเป็นเจ้าภาพต่ออีก 2 ปี
วันที่ 14 ธันวาคม 2565 ที่โรงแรมดิอิมพีเรียล โฮเทล แอนด์คอนเวนขั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดพิษณุโลก นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก นายภูริพันธ์ บุนนาค รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. นายบุญเพิ่ม อินทนปสาธน์ นายกสมาคมการค้าส่งเสริมการจัดมหกรรมและเทศกาลนานาชาติไทย (TIEFA) แถลงข่าวหลังจัดงาน เลอเทปฯ 4 ธ.ค. 65 ที่ผ่านมาว่า
ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า ได้เป็นเมืองเจ้าภาพเป็นครั้งแรก ประสบความสำเร็จด้วยดี อาทิ สิ่งอำนวยสะดวก, ที่พัก, ความปลอดภัยที่มีการปิดถนน 100% ตามมาตรฐานสากล มีการแพทย์ดูแลฉุกเฉินพร้อมสรรพ มีส่วนร่วมของชุมชน ยกระดับให้พิษณุโลกดึงงานอื่นๆเข้าสู่จังหวัดได้ในอนาคต และจะยังคงจัดต่ออีก 2 ปีข้างหน้า
นายภูริพันธ์ บุนนาค รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. กล่าวว่า ได้สนับสนุนค่าสิทธิ์การแข่งขันประมาณ 3 ล้านบาท ตามนโยบายใช้เทศกาลสร้างเศรษฐกิจ ทำงานร่วมกับจังหวัดต่างๆที่เป็นไมซ์ซิตี้ ซึ่งงาน L’Etape มีแฟนคลับในระดับประเทศและระดับนานาชาติจำนวนมาก สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจที่คิดเป็นรายได้จากงานจำนวน 37.17 ล้านบาท มีสำรวจผู้เข้าร่วมงานมีความพึงพอใจ และมีการต้อนรับจากชาวเมือง, ชุมชนและหน่วยงานทุกภาคส่วน
นายบุญเพิ่ม อินทนปสาธน์ นายกสมาคมการค้าส่งเสริมการจัดมหกรรมและเทศกาลนานาชาติไทย (TEFA) ผู้ได้รับการคัดเลือกจาก ASO ให้รับสิทธิ์เป็นผู้จัดการแข่งขัน L’Etape by Tour de France ในประเทศไทย กล่าวว่า สสปน.สนับสนุนค่าสิทธิ์เพื่อให้ ASO นำงานมาจัดในประเทศไทย ปี 64 มีจังหวัดเสนอตัวและผ่านมาตรฐาน 2 เมือง คือพิษณุโลกและอุดรธานี ซึ่งพิษณุโลกเป็นจังหวัดที่ผ่านการคัดเลือกเป็นลำดับที่ 1 ได้รับการยืนยันสิทธิ์การเป็นเมืองภาพจัดงาน 3 ปีต่อเนื่อง ซึ่งเพิ่งจัดงานไป และเชื่อว่าอีก 2 ปีข้างหน้า จะมีนักปั่นให้ความสนใจอีก ช่วงท้ายหลังแถลงข่าวเสร็จ
ได้เปิดสื่อมวลชนซักถาม
หลังจากได้ใช้ชื่อ”เลอแทป-พิษณุโลก”มาเรื่อยๆ กระทั่งมีการจัดงานสร้างความวุ่นวายเรื่องจากจราจร จึงสืบค้นหาผู้จัดงาน ต่อมา นายกฯไมซ์ ชี้แจงสื่อว่า ตามเอกสารจาก TIEFA ลงวันที่ 18 พ.ค.65 ยืนยันเป็นการจัดงาน เลอแทป-พิษณุโลก ถามว่า พันธะลิขสิทธิ์ เลอแทปพิษณุโลก กับจังหวัดพิษณุโลกอยู่ตรงไหน คำถามก็คือ ใครใช้สิทธิ์และอำนาจในการตัดสินใจ ผูกพันต่อพันธะตามกฏหมายต่อจังหวัดพิษณุโลก และ มีสัญญาเอกสารยืนยันจังหวัดพิษณุโลก ยอมรับ ลิขสิทธิ์จาก TIEFA หรือไม่
นายบุญเพิ่ม อินทนปสาธน์ นายกสมาคมฯ TIEFA ตอบข้อซักถามว่า อันดับแรกเจ้าของสิทธิ์ คือ ASO อันดับสอง คือ TIEFA เป็นเจ้าของสิทธิ์ในประเทศไทย และเป็นผู้จัดอันดับสาม คัดเลือกเมืองเจ้าภาพ แปลว่า เจ้าของสิทธิ์อยู่ทาง TIEFA โดยมี สสปน. สนับสนุน ฉะนั้น เราจึงมีพันธะสิทธิ์กับเมืองเจ้าภาพ คือ พิษณุโลก จึงบรรจุชื่อพิษณุโลกไป แปลว่า เซ็นเอ็มโอยู ทั้ง 3 หน่วยงานคือ สสปน., ทีฟ่าและจังหวัด
ส่วนคำถามที่สองนั้นยังไม่ชัดแจน และขอชี้แจงต่อไปว่า มีเอกสารทุกอย่างเพื่อชี้แจง และนายกไมซ์แจงก่อนหน้านี้ ทำตามระบบสากลอยู่แล้ว ซึ่งผู้สื่อข่าวยังขอร้องให้เปิดข้อมูล เอ็มโอยู ทั้ง 3 หน่วยงานอีกด้วย คำถามจากสื่อมวลชนอีกราย ระบุว่า จราจรบนถนนได้รับผลกระทบ จากเส้นทางถูกปิดยาวไปและนานเกินไป ถูกโจมตีและระบายในสังคมโซเชียล
นายบุญเพิ่มฯ ใช้คำว่า เลอเทป-พิษณุโลก แทนคำว่า เลอเทป-ไทยแลนด์ เนื่องจากหวั่นเกรงจะมีปัญหา ลุกฮือ และไม่พอใจเหมือนกับคน จ.พังงา ก่อนหน้านี้ว่า มีหลักฐานหรือข้อมูลใด นำไปเปลี่ยนชื่อดังกล่าว ส่วนปัญหาจราจรที่ติดขัด แต่ไม่มีใครอยากชี้แจงนั้น ท่านวางแผนอย่างไรและมีมาตรฐานอย่างไร เพราะได้สร้างผลกระทบ จึงนำไปสู่ที่มาของสื่อมวลชน ค้นหาว่า ที่มาที่ไป เป็นผู้จัดงานปั่นจักรยานครั้งนี้ คือใคร
นายบุญเพิ่มฯ แจงว่า กรณี เลอเทป-พังงา ในอดีตนั้น ในความหมายของผม คำว่า ลุกฮือ นั้นไม่ใช่ ประท้วง แต่ความหมายเป็นเพียง นัยยะ ว่า เลอแทปไทยแลนด์ แล้วติดท้าย พังงา แต่พอลงข่าวไปถูกคนในพื้นที่แนะนำ ว่า ถูกตัดคำว่า พังงา ไปทุกครั้ง เหลือแต่เลอแลปไทยแลนด์ จึงต้องเปลี่ยนแปลง
ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก กล่าวสรุปว่า เลอแทปครั้งที่ผ่านมานั้น ขอให้เป็นบทเรียน ยอมรับ เรื่องของ ระบบจราจร ไม่ใช่ทาง ผู้จัดงานอย่างเดียว ยังมีทางตำรวจภูธร เป็นผู้ควบคุมระบบจราจรในเส้นทางหลักและรอง จะต้องมีการปรับเปลี่ยน เนื่องจาก ช่วงเช้าหรือการปล่อยตัวจักรยาน จราจรคล่องตัว ไม่มีปัญหา แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ช่วงท้ายๆของนักปั่นกลับเข้าตัวเมืองมา ทางจังหวัดฯ ได้พิจารณาถึงความสมดุลระหว่าง เรื่องความปลอดภัยนักปั่นกับการจราจร ยอมรับว่า ในส่วนการวางแผน คือ คลาด ไม่รู้ภาพที่นักปั่นจักรยานนั้น ปั่นทิ้งช่วง ไม่ได้มาเป็นกลุ่มเป็นก้อน มีนักปั่นเข้าท้ายๆหมดแรง ทำให้ต้องเส้นทางปิดถนนเป็นเวลาพอสมควร แต่สิ่งเหล่านั้น จะต้องเป็นบนเรียน ในการปรับจุดอ่อน ส่วนจังหวัดมีจุดแข็งใดจะต้องรู้ มีหลายวิธีต้องแก้ไข อันดับแรกง่ายๆคือ จะต้องไม่ใช้ ถนนเส้นทางขากลับเข้าเมืองอีกต่อไปแล้ว
“บังเอิญการจัดงานที่ผ่านมา คณะทำงานฯ ต้องการนำเสนอสัญญาลักษณ์ของเมือง ต้องการบอกจุดเด่นของเมือง ไฮไลท์ของเมือง คือ สะพานนเรศวร และ พระราชวังจันทน์ เพียงต้องการความประทับใจ แต่กลับมีจุดอ่อนเรื่องระบบจราจร หากครั้งหน้า ถ้าแก้จราจรได้สำเร็จ การจัดงานเลอแทปฯครั้งต่อไปจะสมบูรณ์ และจะต้องถามคนพิษณุโลกว่า จะยอมผลกระทบในส่วนนี้หรือไม่ เพราะจังหวัดฯ ไม่ได้จัดแข่งตลอดทั้งปี ปีหนึ่งจะจัดเพียงครั้งเดียว จะต้องถอดบทเรียนระบบจราจรต่อไป ไม่อยากเห็น การจราจรปิดตาย ไม่อยากบอกคนพิษณุโลกว่า เราจะปิดเมืองทั้งหมด ตนบอกเพียงว่า “ปิดตลาดนัดเสือลางหาง”เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ได้ปิดตลาดทั้งหมด เพราะเป็นเส้นทางนักปั่นจักรยานผ่าน อาจเกิดอุบัติเหตุ หวั่นเสีย ชื่อเสียงได้ ส่วนปัญหาจราจรย้ำว่า เปลี่ยนเส้นทาง ไม่ต้องกลับเข้าเมืองอีกต่อไป” ผวจ.พิษณุโลก กล่าว