พิษณุโลก อินทผาลัม อำเภอเนินมะปราง”สดหน้าสวน-ลอยแก้ว”
วันที่ 21 กรกฎาคม 2565 กรกฎาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊ก ชาวสวน อินทผาลัมบาฮี อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก กำลังเชิญชวน”เปิดสวนเที่ยวชม ชิม ฟรี” อินทผาลัมบาฮี หวาน กรอบ ไม่ฝาด สายพันธุ์เนื้อเยื่อ เริ่มจัดส่งฟรีตั้งแต่วันที่15 ก.ค.2565 เป็นต้นไป แม้ฝนตกทุกวัน ก็เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว 90% ติดต่อทางเพจ”สวนอินทผาลัม บัวเขียว”ต.ไทรย้อย อ.เนินมะปราง พิษณุโลก
นายชุมพล ลีศรี อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ต.ไทรย้อย กล่าวว่า พื้นที่ ต.ไทรย้อย อ.เนินมะปราง ส่วนหนึ่งเป็นพื้นดินภูเขา ชาวบ้านนิยมปลูกต้นมะม่วงสีทอง เพื่อการส่งออกมาช้านาน ต้องยอมรับว่า ปลูกมะม่วงกันเยอะมาก บางปีผลผลิตล้น ขายไม่ได้ราคา โดยเฉพาะช่วงโควิค-19 ที่ผ่านมา ส่งออกไม่ได้ ทำให้ชาวสวนมะม่วงเริ่มหันมาปลูกพืชชนิดอื่นแทน
ล่าสุดมีชาวสวนปลูกอินทผาลัม(กินสด)จำนวน 5 รายแล้ว สำหรับตนนั้น ได้ขุดดินลูกรังไปขายพร้อมขุดสระน้ำ จึงได้ซื้อกล้าพันธุ์ อินทผาลัมบาฮีเหลือง เนื้อเยื่อจากต่างประเทศมาทดลองปลูกจำนวนทั้งหมด 26 ต้น บนที่ดินแค่ไร่เศษๆเท่านั้น ถือว่า ประสบผลสำเร็จ ต้นอินทผาลัมปลูกขึ้นได้ทุกพื้นที่ แม้เป็นดินลูกรัง เพียงแต่ระบบน้ำต้องดี โดยเฉพาะช่วงออกช่อต้องให้น้ำทุกวัน และหากปีไหนหนาว ปีนั้นอินทผาลัมจะออกช่อได้ดี
ต้นอินทผาลัมลงดินปีแรกยังไม่ได้ผล จากลงทุนไปแสนกว่าบาท พอปีสองเริ่มติดช่อจำนวน 290 ช่อ(จาก 26 ต้น) ขายได้ราคาดถึง 300-500 บาทต่อกิโลกรัม สามารถมีรายได้ถึงแสนกว่าบาท ซึ่งก็ถือว่าคืนทุน ดังนั้นปีนี้ เมื่อเก็บผลผลิต ถือเป็นกำไรล้วนๆ ปัจจุบันราคาขายปลีกหน้าสวน 300 บาทต่อกิโลกรัม ฉะนั้น หากราคาอินทผาลัมไหลลงดิ่งต่ำถึงกิโลกรัมละ 100 บาท ตนก็ยังขายได้สบายๆ เพราะคืนทุกไปหมดแล้ว สำหรับการดูแลนั้น ไม่ยาก ปุ๋ยเพียงแค่ปุ๋ยหมักจากขี้วัว ขี้ไก่ก็พอ ส่วนปุ๋ยเคมีนั้นไม่ต้องการ เพียงแต่ช่วงติดผลออกช่อต้องให้น้ำทุกวัน
นายสมชาย บัวเขียว บ้านเลขที่ 333 หมู่ 2 ต.ไทรย้อย อ.เนินมะปราง เปิดเผยว่า ตนได้ตัดโค่นต้นมะม่วงและปลูกต้นอินทผาลัมเมื่อ 3 ปีก่อน ณ.วันนี้ ถือว่า คืนทุนแล้วตั้งแต่ปีที่สอง โดยใช้เนื้อที่ปลูกเพียง 1 ไร่เศษๆจำนวน 28 ต้นเท่านั้น ล่าสุดตนได้จำหน่ายต้นกล้าพันธุ์เนื้อเยื่อบาฮี ราคาต้นละ 4 พันบาท ซึ่งแตกหน่อออกจากที่ต้นอินทผาลัมที่ออกผลผลิตแล้ว ซึ่งการแยกหน่อนั้นต้องมีเคล็ดลับ กล่าวคือ ต้องบำรุงต้นให้มากๆ หรือ มิฉะนั้นต้องทำให้ขาดน้ำ ต้นอินทผาลัมจึงจะแทงหน่อ ยืนยันว่า หน่อที่แยกนั้นสามารถนำไปปลูกได้ ไม่กลายพันธุ์ นอกจากนี้ตนยังลูกสาวนำผลผลิตไปแปรรูปเพื่อหารายได้อีกทาง
นส.ดราวรรณ บัวเขียว เปิดเผยว่า ตนจบปริญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บังเอิญว่า ช่วงโควิค ตกงาน จึงกลับมาอยู่บ้าน พอดีบิดาได้ปลูกอินทผาลัม จึงได้คิดค้นแปรรูป ลักษณะผลิตอุสาหกรรมในครอบครัว คือ ทำอินทผลัมลอยแก้ว และน้ำอิทผาลัมสด ซึ่งกรรมวิธีง่ายๆ การทำอินทผาลัมลอยแก้ว จะต้องเลือกผลที่แก่จัด ผ่าเมล็ดและผ่าซีกออก เคี้ยวกับน้ำตาลบรรจุขวด ส่วนน้ำอินผาลัมสดนั้น จะต้องนำผลไปปั่นอัตราส่วน 1 ต่อน้ำ 1 พร้อมบรรจุแช่เย็นส่งขายามารถสั่งซื้อทางเพจ”สวนอินทผาลัม บัวเขียว”ต.ไทรย้อย อ.เนินมะปราง พิษณุโลก หรือติดต่อซื้ออินทผาลัมสดๆที่หน้าสวนได้ทุกวัน