เปิดสะพานพระราชวังจันทน์ มอบของขวัญปีใหม่ชาวพิษณุโลก สะพานเหล็กโค้งเเห่งแรกของประเทศไทย

1525

เปิดสะพานพระราชวังจันทน์ มอบของขวัญปีใหม่ชาวพิษณุโลก สะพานเหล็กโค้งเเห่งแรกของประเทศไทย

นายกล้าหาญ ทารักษา ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทพิษณุโลก เปิดเผยว่า ในวันที่ 27 ธ.ค.2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมคณะผู้บริหารกระหรวงคมนาคม กำหนดเดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดสะพานพระราชวังจันทน์ (โค รงการก่อสร้างสะทานข้ามแม่น้ำน่าน) อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ 2565 ให้ประชาชน และได้ปล่อยขบวนรถอำนวยความปลอดภัยการจราจร เพื่ออำนวยความสะดวกปลอดภัยให้กับประชาชนที่จะเดินทางกลับภูมิลำเนาในช่วงเทศกาสวันหยุดยาว โดยมีหน่วยงานที่ได้บูรณาการร่วมกัน ประกอบด้วย กรมทางหลวง กรมทางหลวงซนบท กรมการขนส่งทางบก กรมเจ้าท่า และกรมท่าอากาคยาน

ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทพิษณุโลก กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ มีนายรณชัย จิตรวิเคษ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก กล่าวต้อนรับ นายอภิรัฐ ไขยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท กล่าวรายงาน เนื่องจากกจังหวัดพิษณุโลก เป็นจังหวัดที่มีแหล่งทองเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศาสนาเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้บริวณโดยรอบแหล่งท่องเที่ยวหรือสถานที่สำคัญมีปริมาณการจราจรที่หนาแนน ทั้งนี้ เพื่อให้นักท่องเที่ยวและพุทธศาสนิกชนได้รับความสะดวกสบายในการเดินทางระหว่างแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างต่อเนื่องเป็นวงรอบ ส่งเสริม.ศรษฐกิจการท่องเทียวและสนับสนุนการกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืนตลอดจนเป็นการบรรเทาความแออัดของการจราจรบริเวณสะพานนเรศวร

นายกล้ากาญ กล่าวอีกว่า ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ดำเนินการก่อสร้างสะพานพระราชวังจันทน์ ข้ามแม่น้ำน่าน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโถก ใช้งบประมาณในการ ก่อสร้างทั้งสิ้น 79,950,000 บาท โดยสะพานดังกล่าว จะตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์ เชื่อมต่อไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร วัดนางพญา และวัดราชบูรณะ

สำหรับตัวสะพานมีความยาวรวม 116 เมตร แบ่งเป็น 5 ช่วงความยาว ผิวทางกว้าง 7 เมตร รองรับการจราจร ช่องจราจร (ไป-กลับ) แต่ละด้านของสะพานมีทางเท้าและทางจักรยานกว้างด้านละ 3 เมตร โครงสร้างสะพานช่วงข้ามแม่น้ำมีลักษณะเป็นสะพานโค้ง (Steel Arch Bricge) สำหรับทางหลวงแห่งเรกของประเทศไทย ความยาวช่วง 80 เมตร เพื่อหลีกเสี่ยงการก่อสร้างเสาตอม่อ ในแม่น้ำอันอาจจะเป็นอุปสรรคต่อประเพณีการเข่งเรือยาวที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี

โดยสามารถช่วยลดผลกระทบจากการก่อสร้างต่อประชาชนในพื้นที่ได้ สำหรับส่วนประกอบอื่น ๆ ของสะพาน ได้แก่ ราวสะพานและเสาไฟฟ้-เเสงสว่าง ได้ออกแบบให้มีความสวยงาม โดยนำรูปแบบทางจิตรกรรมของท้องถิ่นมาประยุกต์ ประกอบกับลัาษณะทางโครงสร้างของสะพานที่เตกต่างจากสะพานอื่นและสถาปัตยกรรมที่มีความสวยงาม ทำให้สะพานเห่งนี้เป็นแลนด์มาร์ค (Iandmark) ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลก อีกด้วย

ขอบคุณภาพ: บัญชา วาจาสุวรรณ