พิษณุโลก ลูกสาวยื่นเรื่อง สปสช.เขต 2 แม่ฉีควัคซีนแอสตร้าเซนิก้า เข็ม 2 เสียชีวิต (คลิป)
วันที่ 4 ตุลาคม 2564 เวลา 10.00 น.
นางกมลวรรณ แสงอ่วม อายุ 49 ปี บ้านเลขที่ 184/2 หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก บุตรสาวนางเฮียง แสงอ่วม อายุ 76 ปี บ้านเลขที่ 184 หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมืองพิษณุโลก ได้นำหลักฐานการรักษาจากโรงพยาลาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกร่าง และโรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก ยื่นต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 2 พิษณุโลก
เนื่องจากมั่นใจว่ามารดามีสาเหตุการเสียชีวิตมาจากผลข้างเคียงจากการฉีควัคซีนแอสตร้าเซนิก้า เข็มที่ 2 เพราะก่อนหน้านี้ฉีควัคซีนซิโนแวค เข็ม 1 เป็นที่ทราบกันดีนางเฮียง มีสุขภาพแข็งแรงเป็นปกติ แม้ว่าจะโรคประจำตัวเบาหวาน และไขมันในเส้นเลือด แต่สามารถรับประทานยาควบคุมโรคดังกล่าวได้เป็นปกติ
ซึ่งขณะนี้ญาติๆ ได้นำศพนางเฮียง แสงอ่วม มาตั้งบำเพ็ญกุศลคืนแรก
วันที่ 3 ตุลาคม ที่ศาลาการเปรียญวัดธรรมเกษตร หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านกร่าง
และจะทำการฌาปนกิจศพในวันที่ 5 ตุลาคม นี้ โดยนำความเศร้าโศก มาสู่ครอบครัวเป็นอย่างมาก เนื่องจากญาติเชื่อมั่นว่าสาเหตุจากการเสียชีวิตมาจากฉีควัคซีนแอสตร้าเซนิกา เข็มที่ 2
นางกมลวรรณ แสงอ่วม กล่าวว่า แม่ไปฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนิกา เข็มที่ 2
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 ที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)บ้านกร่าง อำเภอเมืองพิษณุโลก พอวันที่ 16 กันยายน มีอาการปวดหัว อาเจียน รับประทานอาหารไม่ได้ จึงรับประทานยาพารา และยาแก้ปวดหัว แต่ยังเวียนหัวมาตลอด และไม่ถ่ายอุจจาระ ในระหว่างวันที่ 17-21 กันยายน อาการเหมือนเดิม และมีอาการปวดหัวรุนแรงมาก ครั้งแรกคิดว่าจะนำส่ง รพ.พุทธชินราชพิษณุโลก เกรงว่าโรงพยาบาลพุทธชินราช จะไม่รับในช่วงโควิด -19
นางกมลวรรณ กล่าวอีกว่า จนกระทั่งวันที่ 22 กันยายน จึงพาแม่ไป รพ.สต.บ้านกร่าง หมอได้จ่ายพารา และยาแก้แพ้มาให้ อาการยังไม่ดีขึ้นอีก และวันที่ 23 กันยายน ไปพบหมดที่ รพ.สต.บ้านกร่าง อีกครั้ง กลับมาแม่มีอาการเหมือนเดิม
“ในวันที่ 28 กันยายน จึงพาแม่ไปคลินิคที่ตำบลบ้านกร่าง จนกระทั่งวันที่ 29 กันยายน อาการของแม่ทรุดหนักพูดคุยแทบไม่ได้ จึงตัดสินใจนำตัวส่งโรงพยาบาลพุทธชินราช ซึ่งทางโรงพยาบาลห้ามเยี่ยม เคยติดต่อไปทางโทรศัพท์กับทางโรงยาบาล เพื่อเยี่ยมดูอาการแม่ แต่ไม่ได้รับการอนุญาต และวันนี้ (3 ต.ค.) เวลา 10.30 น. ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลว่าแม่เสียชีวิตแล้ว ระบุความเห็นว่าติกเชื้อในกระแสเลือด รู้สึกเสียใจมาก เพราะก่อนที่จะฉีควัคเข็ม 2 แม่ไม่มีอาการอะไรปกติดีทุกอย่าง จึงมาร้องขอความเป็นธรรมต่อ สปสช.เขต 2 แต่ทางเจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้นำเอกสารเพิ่มเติม โดยเฉพาะใบเวชระเบียนจาก รพ.พุทธชินราช ซึ่งจะรวบรวมไปส่งให้ในวันที่ 5 ตุลาคม อีกครั้งหนึ่ง ” นางกมลวรรณ กล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับแนวทางการช่วยเหลือ สปสช. แบ่งเป็น 3 ประเภท ถ้าฉีดแล้วเจ็บปวด ป่วย 1-2 วัน ไม่มีการช่วยเหลือ แต่หากเจ็บป่วย ต้องเข้ารับการรักษาเจ็บป่วยเรื้อรัง พิการ จะพิจารณาช่วยเหลือ 1 บาท สูงสุดถึง 2.4 แสนบาท หากเสียชีวิตพิจารณาช่วยเหลือ 1 บาทจนถึงสูงสุด 4 แสนบาท การช่วยเหลือผู้เสียหายต้องระบุชื่อว่าใครเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ และต้องมีประวัติการรักษา ก่อนส่งให้ทาง สปสช. จึงค่อยเข้าสู่คณะกรรมการตัดสินไม่เกิน 5 วัน