สบอ.11 ชี้แจงร่างกฎหมาย อุทยานฯฉบับใหม่ คนกับป่าอยู่ร่วมกันอย่างถูกกฎหมาย
วันที่ 9 มีนาคม 2562 นายนิพนธ์ จำนงสิริศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ที่ 11 (สบอ.11) พิษณุโลก มอบหมายให้นายประชา ตั้งจิตธรรม ผู้อำนวยการส่วนอุทยานแห่งชาติ สบอ.11 นายทักษิณ มงคลรัตน์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง นายสมพงษ์ ติ๊บปาละ ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานฯ ประชุมชี้แจงร่างกฎหมายอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ฉบับใหม่ ซึ่งผ่านที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ไปแล้ว เตรียมประกาศเป็นกฎหมาย เพื่อชี้แจงให้กับราษฎรตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ บ้านโปร่งพลู หมู่ที่ 15 บ้านท่าข้าม หมู่ที่ 5 บ้านแก่งเจริญ หมู่ที่ 18 และ บ้านแสนสุขพัฒนา หมู่ที่ 20 เข้าร่วมรับฟังในครั้งอย่างพร้อมเพรียง
ในที่ประชุมชี้แจงว่ากฎหมายอุทยานฯฉบับใหม่ เป็นกฎหมายส่งเสริมเจ้าหน้าที่อุทยานดูแลคุณภาพชีวิตของชาวบ้านที่อยู่ในป่า ได้อยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยื่น ไม่เกิดการขัดแย้ง รวมทั้งไม่ให้มีการขยายพื้นที่ป่าบุกรุกเพิ่มเติม ให้มีการบริหารจัดการพื้นที่ร่วมกันให้ชุมชนในพื้นที่อุทยานฯ มีความยืดหยุ่น ในการใช้ประโยชน์แตกต่างกัน มีการรับรองพื้นที่ทำกินของครอบครัวในเขตอุทยานแห่งชาติให้ถูกต้องตามกฎหมาย และตามมาตรา 42 วรรคสอง ของกฎหมายอุทยานฯฉบับใหม่ แต่กรมอุทยานฯจะมีประกาศกระทรวงฯกำหนดเขตให้เก็บของป่า ได้ ถ้าเก็บเพื่อยังชีพจริงๆ ราษฎรสามารถมาปรึกษากับหัวหน้าอุทยานแห่งชาติในพื้นที่ได้
หลังจากเจ้าหน้าที่ชี้แจงจบ ผู้นำชุมชน และราษฎรบ้านโปร่งพลู อ.วังทอง จ.พิษณุโลก จำนวนกว่า 300 คน ขานรับเห็นด้วยอย่างเต็มที่ โดยนายเสน่ห์ พลรบ กำนันตำบลวังนกแอ่น นายชัยยนต์ มาไชยนาม นายก อบต.วังนกแอ่น นางดวงนภา หุงขุนทด ผู้ใหญ่บ้านโปร่งพลู หมูที่ 15 ต.วังนกแอ่น ต่าต่างเห็นด้วยกับกฎหมายอุทยานฯฉบับ ใหม่จะทำให้ราษฎรเดิมที่อยู่อาศัยและทำกิน ในเขตอุทยานฯทุ่งแสลงหลวง ได้อยู่อาศัยและทำกินถูกต้องตามกฎหมาย เปิดโอกาศให้มีเขตอนุญาตในอุทยานฯ ให้เก็บหาของป่าได้ถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย
นายประชา ตั้งจิตธรรม ผู้อำนวยการส่วนอุทยานแห่งชาติ กล่าวว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ได้ผ่านร่างพระราชบัญญัติแห่งชาติ ฉบับใหม่ ซึ่งถ้ามีผลบังคับใช้จะมีผลดีกับผู้ที่ถือครองครอบครองใช้ประโยชน์ ในเขตอุทยานฯแห่งชาติ วันนี้ได้ชี้แจง 2 ประเด็น คือหลังประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกาจะได้ถูกต้องไม่ผิดกฎหมาย และมีกระแสในสังคมที่ว่า โทษค่อนข้างจะรุ่นแรง การเก็บหาเห็ด หน่อไม้ เป็นการไปอ่านกฎหมายวรรคแรกเท่านั้น จริงๆแล้วการเก็บหาทรัพยากรธรรมชาติทดแทนได้นั้น กรณีไปเก็บในเขตที่กระทรวงไม่ได้ประกาศให้เก็บได้ ดูว่าน้ำหนักไม่เกินในราคา 2,000 บาท แค่มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
นายประชา ตั้งจิตธรรม กล่าวอีกว่า เมื่อ 240 วัน กรมอุทยานแห่งชาติจะเสนอ มีประกาศกระทรวงกำหนดเขต ให้เป็นพื้นที่ที่สามารถขออนุญาตเข้าไปในพื้นที่เก็บพืชทดแทนได้ เช่น เห็ด หน่อไม้ เป็นต้น จึงได้มาชี้แจงให้ราษฎรในพื้นที่ได้เกิดความเข้าใจ