ชาวสวนทุเรียนอำเภอลับแลกว่า 400 คน ของอำเภอลับแล ขึ้นเขาพบเจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ พร.13 แม่ปาน จ.แพร่ กรณี การแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดิน เขตติดต่อจังหวัดอุตรดิตถ์ – จังหวัดแพร่ บริเวณบ้านบ่อแก้ว หมู่ที่ 10 ตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เพื่อเรียกร้องขอให้ทางราชการผ่อนผันให้มีการทำกินในที่ดินต่อไปได้
เมื่อเวลา 11.00 น.ของวันที่ 22 มกราคม 2562 ที่บริเวณทางขึ้นสวนบ้านมหาราช ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล ชาวสวน ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ ขึ้นเขาพบเจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ พร.13 แม่ปาน จ.แพร่ กรณี การแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดิน เขตติดต่อจังหวัดอุตรดิตถ์ – จังหวัดแพร่ บริเวณบ้านบ่อแก้ว หมู่ที่ 10 ตำบล ไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เพื่อเรียกร้องขอให้ทางราชการผ่อนผันให้มีการทำกินในที่ดินต่อไป
โดยในวันนี้เมื่อชาวสวนอำเภอลับแลทราบว่าจะมีเจ้าหน้าที่ทรัพยากรป่าไม้จากจังหวัดแพร่ นำกำลังมาทำการปิดป้ายเพื่อยึดคืนผืนป่า ทำให้ชาวสวนอำเภอลับแลกว่า 400 คน พากันมารวมตัวกันบนภูเขา ก่อนที่จะมี การเข้าตรวจสอบพื้นที่ทำกินของเกษตรกรชาวสวน โดยจะตรวจสอบการบุกรุก หลังปี 57 เท่านั้น ซึ่งมีราษฏร ที่เข้าไปทำประโยชน์ในเขตป่าบ้านบ่อแก้วหมู่ที่ 10 ต.ไทรย้อย อ.เด่นชัย จ.แพร่ (บุกรุกหลังปี 57 )ซึ่งมีทั้งหมด 120 ราย จำนวน 199 แปลง คิดเป็น พื้นที่ที่จะต้องยึดคืน 3,520 ไร่ 3 งาน 8 ตารางวา
ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ป่าไม้แจ้งว่าจะมีการลงพื้นที่ตรวจสอบความจริงว่าจะเป็นไปตามเอกสารดังกล่าวหรือไม่ โดยจะยังไม่มีการตรวจยึดแต่อย่างใด จนกว่าจะมีการ ชี้แจงหลักฐานการบุกรุกอย่างแน่ชัด แต่ปรากฎว่าหลังรถของเจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักป่าไม้ที่ พร.16 แม่ปาน ได้มีการบรรทุกมอเตอร์ไซด์สำหรับขี่ขึ้นเขาพร้อมบรรทุกป้ายตรวจยึดพื้นที่เป็นไม้อัดสีแดงขึ้นมาด้วย ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับชาวบ้านเป็นอย่างมาก จึงได้มีการรวมตัวกันปิดถนนไม่ให้ทางเจ้าหน้าที่ป่าไม้เดินทางขึ้นไปบนภูเขา
โดยมีนายศิวัช ฟูบินทร์ นายอำเภอลับแล ปลัดอำเภอลับแลฝ่ายความมั่นคง จนท.ปกครอง , ชป. ประจำอำเภอลับแล, จนท.ตร.สืบสวน สภ.ลับแล , ผอ.ทสจ.แพร่ ,ผอ.ทสจ.อต.,กอ.รมน.อต. นายก ทต.หัวดง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่พูล ,กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทนราษฏรชาวสวน ต.แม่พูล จำนวน 400 คน ร่วมอยู่ในเหตุการณ์ ท่ามกลางการดูแลรักษาความปลอดภัยของกำลังทหารจากมณฑลทหารบกที่ 35 และเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ลับแล ได้มาดูแลความสงบเรียบร้อย
ซึ่งเจ้าหน้าที่ป่าไม้นายหนึ่งได้กล่าวว่าการที่เจ้าหน้าที่จะเข้ามาตรวจยึดจะทำการตรวจยึดผู้ที่เข้าทำกินหลังปี พ.ศ. 2557 เท่านั้น ซึ่งชาวสวนก็กล่าวว่าจะพิสูจน์ตรงไหนว่าเป็นการสร้างหลัง ปี 2557 เพราะหากเป็นคนมีเงินก็จะซื้อต้นกล้าที่โตแล้วกล้าละ 7-8 ร้อยบาทขึ้นไปปลูกและวางระบบน้ำทั้งหมดก็จะทำให้ต้นไม้โตเร็วดูเหมือนว่าปลูกมานานหลายปี
หากเป็นชาวบ้านจนๆที่พ่อแม่บรรพบุรุษได้จับจองผืนป่าไว้ให้ลูกหลานไม่มีทุนที่จะซื้อต้นกล้าใหญ่ๆไปปลูก แต่มีการเพาะต้นกล้าเล็กๆขึ้นไปปลูกเองไม่มีระบบน้ำต้องอาศัยที่ปีไหนฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลต้นทุเรียนก็จะรอดตายหากปีไหนฝนแล้งต้นกล้าก็ตายไปจะต้องเริ่มปลูกใหม่อีกในปีต่อไป แล้วจะให้ทางเจ้าหน้าที่ป่าไม้มาสำรวจเพื่อดูความโตของต้นทุเรียนก็คงจะไม่เป็นธรรมกับชาวสวนเท่าไหร่นัก ซึ่งชาวสวนคนดังกล่าวๆว่าหากมีการยึดผืนป่าคืนจริงก็จะไม่มีประโยชน์อันใดเกิดขึ้นเหมือนกับทางฝั่งป่าไร่หลวงเขตบ่อแก้ว จ.แพร่ ที่ถูกยึดคืนและชาวจังหวัดแพร่ได้ทำไร่เลื่อนลอยเกิดไฟไหม้อยู่เป็นประจำและทางป่าไม้ต้องเสียงบประมาณในการเข้าไปดับไฟซึ่งทำให้ไม่เกิดประโยชน์กับใครทั้งสินสูญเสียงบประมาณของทางราชการโดยปล่าวประโยชน์และระบบเศรษฐกิจก็ไม่หมุนเวียนต่างกับที่ทางชาวสวนอำเภอลับแลทำคือการปลูกไม้ยืนต้นไม่ใช่การทำไร่เลื่อนลอยมีการเข้าไปดูแลป่าป้องกันไฟไหม้ป่าโดยชาวบ้านโดยที่ไม่ต้องเสียงบประมาณของภาครัฐแต่อย่างใด
ซึ่งชาวสวนกล่าวว่าการที่จะให้ปัญหาตรงนี้จบโดยไม่มีการสร้างปัญหาระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับฝ่ายประชาชนนั้นคือ ให้ทางป่าไม้นำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศฉบับปัจจุบันมากางขีดเส้นว่าแนวป่าแนวสุดท้ายที่ชัดเจนนั้นอยู่ตรงบริเวณไหนแล้วก็ทำลงบันทึกกับชาวบ้านว่าจะไม่มีการเปิดป่าใหม่และไม่มีการบุกรุกเปิดแนวป่าใหม่อีกต่อไปหากชาวบ้านคนไหนบุกรุกป่าใหม่ทางผู้นำหมู่บ้านพร้อมแจ้งให้ทางเจ้าหน้าที่เข้าจับกุมและจัดทำเป็นโมเดลคนอยู่กับป่าหรือโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามแนวพระราชดำริต่อไป
โดยในวันนี้นายอุเทน โล่พานิช กล่าวว่าหากข้อพิพาทระหว่างเจ้าหน้าที่ป่าไม้กับชาวบ้านตำบลแม่พูลยังไม่จบก็จะทำเรื่องถวายฎีกาต่อในหลวงรัชกาลที่ 10 เพื่อขอพระราชทานความช่วยเหลือต่อชาวสวนตำบลแม่พูล อำเภอลับแล ต่อไป
ปวินท์ อินกล่ำ รายงาน