พิษณุโลก ภาพจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถ วัดราชบูรณะ ระบุยุคต้นรัตนโกสินทร์

วันที่ 19 ก.ค.2562 นายสถาพร เที่ยงธรรม ผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร พร้อมเจ้าหน้าที่รุดตรวจสอบอุโบสถ์ วัดราชบูรณะ อ.เมือง จ.พิษณุโลก หลังจากเกิดเพลิงไหม้หน้าหลวงพ่อพระประธาน และภาพ จิตรกรรมฝาผนัง สมัยต้นรัตนโกสินทร์ได้รับความเสียหายจากเปลวเพลิงและควันไฟ ในขณะเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรกำลังปรับปรุงซ่อมแซม ทำให้ผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี ตรวจดูสภาพความเสียหาย ทั้งพระประธานและจิตรกรรมฝาผนัง ที่เต็มไปด้วยคราบเขม่า


นายสถาพร เที่ยงธรรม ผอ.สำนักโบราณคดี กล่าวว่า แนวทางการบูรณะภาพจิตรกรรมฝาผนัง จะต้องรีบบูรณะ ไม่ให้คราบเขม่าติดฝังลึก เริ่มจากใช้วิธีแรกผ้าแห้งเช็ด ใช้น้ำเช็ด คราบเขม่าก็น่าหลุดออก คงต้องใช้เวลาบูรณะประมาณ 4 เดือนเพราะทำงานละเอียดอ่อน

พระครูสังฆรักษ์ปรีชาวุฒิสาสน์ เลขานุการเจ้าอาวาสวัดราชบูรณะ กล่าวว่า ภาพจิตรกรรมฝาผนัง สันนิฐานว่า เริ่มเขียนไว้สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ฝีมือสกุลช่าง ช่วงรัชกาลที่ 4 ภาพทั้งหมดมีอยู่ 3 ตอน ถ่ายไว้เมื่อปี 2546 ปัจจุบันเกือบลบเลือน เพราะกาลเวลาและถูกน้ำฝนรั่วจากหลังคา ปรากฏไว้ 4 ด้าน ตนบน ฝั่งทิศเหนือ เขียนเรื่อง”รามเกียรติ์” ปรากฏเด่นชัด ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด คือ ทศกัณฐ สั่งเมือง


ส่วนด้านล่าง เขียนเรื่อง 1.กามกรีฑา เรื่องกามรมย์ เพื่อเป็นการพิจารณาไม่ให้หมกมุ่นถึงกามรมย์ ลักษณะการสอนด้วยภาพ บ้างก็ว่า แสดงถึงอารมณ์ของศิลปิน เพียงแต่ภาพลักษณะเช่นนี้ ไม่เคยปรากฏว่า พบที่ใดมาก่อน
ส่วนภาพเรื่องราว พุทธประวัติพระพุทธเจ้า ปรากฏอยู่ตอนบนของอุโบสถ


สำหรับภาพแฝดอินจันทน์ ที่ปรากฏอยู่ฝาผนัง คือ ภาพวาดที่เกิดจากในช่วงบ้านเมืองไทย เกิดเหตุการณ์ ดังกล่าว สันนิฐานว่า บรรดาจิตรกรในยุคนั้น ได้เล่าเรื่องโดยผ่านการขีดเขียนลานเส้นบนฝาผนัง อุโบสถ์ วัดราชบูรณะ จนปรากฎภาพแฝดอินจันทร์


ขณะที่พระประธานในโบสถ์มีทั้งหมด 2 องค์ คือ องค์แรก คือ หลวงพ่อทองสุข ศิลปะ ปางมารวิชัย ประดิษฐานบนฐานชุกชี ตอนล่างเป็นฐานปัทม์ส่วนฐานทั้งหมดเป็นลายปูนปั้นปิดทองประดับกระจก เป็นพระประธานภายในอุโบสถ พระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทองขนาดหน้าตัก 2.55 เมตร สูง 4.20 เมตร บางคนเรียกขาน”หลวงพ่อโต”ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างแน่ชัด เพียงแต่อยู่หน้าหน้า คาดว่าสร้างภายหลัง จึงมาประดิษฐ์สถานไว้ด้านหน้าหลวงพ่อทองขาว


หลวงพ่อทองขาว ประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อสำริด ศิลปะสมัยสุโขทัย ขนาดหน้าตักกว้าง 100 สูง 136 (เฉพาะองค์) ประดิษฐ์สถานภายในอุโบสถด้านหลังพระประธาน หลวงพ่อทองสุข ตามหลักฐานโบราณคดี น่าจะสร้างก่อนหลวงพ่อทองสุข สมัยยุคสุโขทัย เพียงแต่ได้รับการบูรณะสร้างฐานขึ้นใหม่ในสมัยอยุธยา

พระครูสิทธิธรรมวิภัช เจ้าอาวาสวัดราชบูรณะ กล่าวว่า การบูรณะครั้งนี้ทางวัดจะร่วมซ่อมแซมในส่วนหนึ่งด้วยและหากประชาชนผู้มีจิตศรัทธาต้องการร่วมซ่อมแซมอุโบสถในครั้งนี้ด้วยก็สามารถบริจาคได้ที่ บัญชี
ธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชีวัดราชบูรณะ เลขที่ 6011526810

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมศิลปากรยกคณะเดินทางมาวัดราชบูรณะครั้งนี้ มีข่าวสะพัดมีการเจรจาต่อรองว่า หากกรมศิลป์บูรณะจำนวน 1 ล้านบาท ทางวัดราชบูรณะจะต้องออกเงินร่วม 30 เปอร์เซ็นต์หรือ 300,000 บาท เพื่อมีส่วนร่วมและสนับสนุนในการบูรณะครั้งนี้ แต่ทางเจ้าอาวาส บอกไม่มีทุนทรัพย์ น่าจะหางบตัวอื่นมาแทนดีกว่า จึงเป็นที่มาของบัญชีบริจาคดังกล่าว