นายกเล็กฯ นครสองแคว พร้อมคืนเรือนแพสองฝั่งน้ำน่าน แต่เงื่อนไขยิบ ปราชญ์ชาวบ้านเห็นต่าง

วันที่ 25 มิ.ย.2562 นายบุญทรง แทนธานี นายกเทศบาลนครพิษณุโลก กล่าวว่า กรณีเรือนแพย้ายขึ้นบก ซึ่งการสั่งห้ามสร้างแพเพิ่มเติมนั้น ไม่เป็นความจริง เพียงแต่เรือนแพที่ปรากฏอยู่สองฝั่งน่าน เหลืออยู่ประมาณ 40 ราย แบ่งเป็นแพครัวเรือนชาวบ้านจริงๆ 25 ราย นอกจากนั้นเป็นเรือนแพเชิงธุรกิจ ขอยืนยันหากประชาชนท่านใด จะขอเพิ่มเรือนแพก็ได้ ทางเทศบาลไม่มีปัญหาเพียงแต่ยื่นจำนงให้ถูกต้อง และเทศบาลฯพร้อมออกเลขที่บ้านเรือนแพได้ โดยต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของเทศบาลฯ อาทิ เรือนแพ ต้องมีถังบำบัดอยู่ภายในเรือนแพ ฯลฯ

ซึ่งข้อกำหนดต่างๆ ระบุไว้ว่า
1.กำหนดพื้นที่จอดเรือนแพ ฝั่งตะวันออก ห้ามจอด (เป็นไปตามคำสั่งจังหวัด ลง 6 มี.ค.2549) ตั้งแต่หน้าวัดโพธิญาณ จนถึงหลังวัดท่ามะปราง ส่วนฝั่งตะวันตก ห้ามจอด ตั้งแต่ค่ายสมเด็จพระนเรศวร ถึงสะพานเอกาทศรถ

2.การขออนุญาตจอดแพ ต้องขออนุญาตจากเจ้าของ “หน้าท่า”ให้ความยินยอม กรณีที่ดินเอกชน เจ้าของที่ดินให้ความยินยอม กรณีที่ดินสาธารณะหน่วยงานพื้นที่ให้ความยินยอม เช่น ทางสาธารณะต้องได้รับความยินยอมจากเทศบาล

3.เมื่อได้รับหนังสือยินยอมแล้ว ยื่นคำขอรับใบสำคัญรับรองอนุมัติแบบแพ จากกรมเจ้าท่า ผ่านสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาพิษณุโลก โดยมีเอกสารหลักฐาน (ข้อ 12 ประกาศกรมเจ้าท่า ลงวันที่ 7 ธ.ค.2559) ดังนี้
3.1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอ
3.2 แบบแปลนแพ พร้อมวิศวกรลงนามรับรองพร้อมใบประกอบวิชาชีพ กรณีแพที่มีความสูงเกิน 5 เมตรให้มีวิศวกรระดับสามัญวิศวกรรับรอง

4.ดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้ว ยื่นขอหนังสือรับรอง (หนังสือมีอายุ 1 ปี)

ทางด้านอาจารย์ขวัญทอง หรือ โจ้ สอนศิริ อาจารย์โรงเรียนเตรียมอุดมภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลก ในฐานะปราชญ์ชาวบ้าน กล่าวว่า  ข้อเท็จจริง. คือ จุดที่ โดดเด่น ของเรือนแพ พิษณุโลก ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยว คือ เรือนแพ น้ำน่าน ย่านหน้าวัดพระศรี ขึ้นไปจน ท่าเรือวัดน้อย. และ จาก สะพานนเรศวร สองฟากฝั่ง ไปทางใต้. คือ สิ่งที่นักท่องเที่ยวผู้มาเยือน พิษณุโลก และมาไหว้พระพุทธชินราช พบเห็นมาแต่อดีต คือ วิถีชีวิตที่ผูกพันกับ สายน้ำน่าน. แม้แข่งเรือยาวก็มีเรือนแพ ฝั่งตะวันตกก็เปิดฝาย ผู้คนลงไปนั่งชมติดสายน้ำ คือ จุดเด่น เอกลักษณ์หนึ่งเดียวในสยาม ของ สนามแข่งเรือยาวจังหวัดพิษณุโลก สนามชิงถ้วยพระราชทาน แห่งแรกของภาคเหนือ.”สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ” มรดกวิถีชีวิตที่ โดดเด่นของ สองแคว โอฆบุรี ลำน้ำน่าน หน้าวัดพระศรี สถานที่ท่องเที่ยวอันดับ 1 ของพิษณุโลก จึงทำให้ เรือนแพพิษณุโลก โดดเด่นกว่าเมืองอื่นจนเป็นที่กล่าวขาน เป็นเอกลักษณ์ของเมือง สังคมลุ่มน้ำวิถีชีวิตที่หายไป

“ปัญหา สิ่งปฏิกูล. บริหารจัดการได้. ไม่ใช่ เรื่องคอขาดบาดตาย ถ้าเทียบกับน้ำเสียที่ปล่อยลงน้ำน่าน โดยปราศจากการบำบัด อันไหนเลวร้ายกว่ากันฝั่งตะวันตก หน้าศาล เกิด ซุ้มขายของแทน. ริมตลิ่ง แทนวิถีชีวิตดังเดิม เสน่ห์ของเมืองลุ่มน้ำที่หายไปในจุดสำคัญของบ้านเมือง พิพิธภัณฑ์เรือนแพ หมดไปหลายล้าน ก็มิได้มีสิ่งใด ที่ จะสะท้อน หรือ ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ แวะไปเทียวชม ศึกษา ตำนานเรือนแพ สองแคว เลย กลายเป็น ร้านกาแฟ ไป อย่างน่าเสียดาย กลับเป็น ว่า พิพิธภัณฑ์ จ่าทวี นำเสนอรูปแบบเรือนแพ ด้วยโมเดล จำลอง เรือนแพ หลากหลายรูปแบบ และภาพเก่า ที่ ดีกว่า นี้คือ ตัวอย่างของการบริหารจัดการ. แม้พื้นที่ สถานที่จะไม่เอื้ออำนวยก็ตามที ปัญหา นี้ ในสภาพปัจจุบัน จะบริหารพื้นที่ บางส่วน ในจุดนี้ ที่ปล่อยหญ้าริมตลิ่งรก และไม่ได้ใช้ประโยชน์ อย่างไร ในการ เสริม เติมเสน่ห์ วิถีชีวิตสังคมลุ่มน้ำ ที่ ขาดหายไป ได้อย่างไร. ต้อง ประชาคม ตกผลึกความคิดร่วมกัน ให้ครอบคลุม ทุกกลุ่มคนครับ. เพื่อแสวงหาแนวทางออกที่ดีที่สุดร่วมกัน. คือ วิถีทางที่ถูกต้อง ” อาจารย์ขวัญทอง กล่าว

ฟๆ