พิษณุโลก บ่อบำบัดน้ำเสีย มูลค่า 379 ล้านบาท 20 ปีมิเตอร์ไฟฟ้าขึ้นเพียง 116 หน่วย

วันที่ 20 มิถุนายน2562 นายชัชพงศ์ เอมะสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก กล่าวถึงกรณีท่อน้ำทิ้งที่ไหลลงสู่แม่น้ำน่าน ทุกคนรู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้น ตอนนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ท่านพิพัฒน์ เอกภาพันธ์ สั่งให้ออกไปตรวจสอบทางผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแล

กระบวนการในการทำงานเป็นเรื่องหน่วยงานที่มีหน้าที่ ใครมีหน้าที่บ้างละต้องทำตามหน้าที่ ผู้ว่าราชการจังหวัดมีหน้าที่กำกับดูแลภายในวันที่ 15 กรกฎาคม นี้ มันต้องรู้การแสวงหาข้อเท็จจริง ผู้ที่รับผิดชอบใครทำหน้าที่อะไรก็ทำกันไปไม่ใช่มารอผลการตรวจสอบนายชัชพงศ์กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่19 มิถุนายน ที่ผ่านมา นายชัชพงศ์ เอมะสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกพร้อมคณะตรวจสอบสถานีสูบน้ำและสถานีบำบัดน้ำเสียเทศบาลนครพิษณุโลก หนองอีเฒ่า ตำบลวังพิกุล อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ดูจุด( PS) PUMP STATION ทั้ง 6 จุด ตามโครงการบำบัดน้ำเสียเทศบาลนครพิษณุโลก 

สำหรับปัญหาที่ไม่สามารถเดินระบบบำบัดน้ำเสียได้เกิดจากหม้อแปลงไฟฟ้าเสีย ที่ผ่านมาได้เดินเครื่องบำบัดน้ำเสียในเขตเทศบาลมาโดยตลอดแต่หม้อแปลงเสียอยู่ระหว่างรอให้เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าเข้ามาแก้ไข เพราะแจ้งช่างให้มาซ่อมแล้ว

เจ้าหน้าที่เทศบาลนครพิษณุโลกอ้างว่า ทุกอย่างเดินระบบเคยใช้งานไปแล้ว เพียงแต่หม้อแปลงไฟฟ้าพังเท่านั้น แต่ทำให้หลายฝ่ายสงสัยว่า ส่งไปดำเนินการซ่อมแซมระบบไฟฟ้าเมื่อใด เนื่องจากสภาพอุปกรณ์ไฟฟ้าเก่าแทบไม่ได้ใช้งาน เพราะพบว่ามิเตอร์ไฟฟ้าอาคารหนองอีเฒ่า ระบุว่าเครื่องบำบัดน้ำเสียใช้งานเพียง 116 หน่วยเท่านั้น

บ่อบำบัดน้ำเสียหนองอีเฒ่าจังหวัดพิษณุโลก ได้รับการจัดสรรงบประมาณในปี2541 ในสมัยนายยิ่งพันธ์  มนะสิการ ขณะดำรงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม 379,000,000 บาท เพื่อก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียพร้อมท่อระบายน้ำเสียไหลไปสู่บ่อบำบัดที่บ้านหนองอีเฒ่า ตำบลวังพิกุล อำเภอวังทอง

โดยแบ่งงานหรือแบ่งงบประมาณออกเป็น2 ส่วนใช้รางรถไฟที่วิ่งผ่าเมืองเป็นตัวแบ่งเขต379,000,000 บาทกล่าวคือฝั่งตัวเมืองหรือในเขตเทศบาลนครพิษณุโลกทั้งหมดเทศบาลนครพิษณุโลกเป็นผู้รับงานก่อสร้างและดูแลPUMP STATION (PS) จำนวน3 จุดส่วนงานโยธาธิการจังหวัดพิษณุโลกเป็นผู้ก่อสร้างจุดPS 4 จุดPS 5 และจุดPS 6 และโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียหนองอีเฒ่า

การก่อสร้าง PS 1-3 เทศบาลนครพิษณุโลกเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบการก่อสร้าง แต่ไม่สามารถใช้งานได้อ้างว่า จุด PS 4 และบ่อบำบัดหนองอีเฒ่าไม่แล้วเสร็จ ต่อมากรมโยธาธิการและผังเมือง ได้รับงบประมาณซ่อมแซม 59,000,000 บาท และในระหว่างปีงบประมาณ 2558-2560 กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้รับการจัดสรรงบประมาณอีก 81,000,000 บาท เพื่อว่าจ้างเอกชนมาซ่อมแซม โดยเฉพาะ PS 4 คือจุดรวมรวมท่อบำบัดน้ำเสียจาก PS 1 2 3 ในเขตตัวเมืองคือ

PS 1 คือจุดรวมท่อบริเวณหลังโรงแรมลาพาโลม่า

PS 2 คือจุดรวมท่อบริเวณหลังวัดท่ามะปราง

PS 3 คือจุดรวมท่อถนนพญาเสือบริเวณก๋วยเตี๋ยวห้อยขา

ทั้ง 3 จุดไม่สามารถสตาร์ทเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ จึงไม่สามารถดึงน้ำทั้ง 3 จุดรวมรวมมาส่งที่ PS 4

PS 4 คือจุดรวมน้ำเสียส่วนใหญ่ในเมืองย่านเศรษฐกิจรวมทั้งหมดบริเวณโคช้าง พบว่ากำลังซ่อมระบบไฟฟ้า จึงไม่สามารถใช้การได้ นอกจากนี้ยังมีงานซ่อมระบบท่อ PS 5 และ PS 6 ไม่มีกระแสไฟฟ้าเช่นกันสาเหตุจุด PS 4 ไม่สามารถเดินเครื่องได้

รายงานข่าวแจ้งว่า ท่อน้ำทิ้งภายในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก ปัจจุบันออกไปสู่ 3 แหล่งใหญ่ๆคือ 1.แม่น้ำน่าน 2.คลองโคกช้าง 3.ริมทางรถไฟ ซึ่งแหล่งน้ำเสียผสมกับน้ำฝนในจุดคลองโคกช้างและเรียบริมทางรถไฟจะไหลไปรวมกับคลองโคกช้างในพื้นที่ตำบลบึงพระอำเภอเมืองพิษณุโลก และไหลสู่แม่น้ำวังทองตอนล่างต่อไปตลอดริมแม่น้ำน่าน  พบว่ามีท่อน้ำเสียจากฝั่งทิศตะวันออกหรือฝั่งโรงแรมโรงพยาบาลตัวเมืองหลักจำนวน16 ท่อและทิศตะวันตกเป็นโรงแรมอาคารบ้านเรือนและส่วนราชการจำนวน7 ท่อรวมทั้ง 2 ฝั่ง 23 ท่อน้ำทิ้ง