พิษณุโลก เสวนา “มังคละเภรี วิถีอาณาจักรสุโขทัย” ดนตรีพื้นบ้านพิษณุโลก-สุโขทัย-อุตรดิตถ์

วันที่ 27 พ.ย. 67 ณ ณ ห้องประชุมปางอุบล ศูนย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง โรงแรมวังจันทน์ริเวอร์วิว อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก มีการเจัดสวนา ดนตรีพื้นบ้านมังคละวิถีอาณาจักรสุโขทัย โดยสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามทั้งนี้ มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านดนตรีพื้นบ้านมังคละ ร่วมเสวนา อาทิ
รองศาสตราจารย์ประทีป นักปี่ มหาวิทยาลัยนเรศวร เรืออากาศตรีประโยชน์ ลูกพลับ ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ชมรมอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกษร เอมโอด ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลป์สุโขทัย
ดร.ศุภชัย ธีระกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ผู้ดำเนินรายการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลธรรม เกื้อบุตร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อให้ข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับดนตรีพื้นบ้านมังคละที่นักเรียน นักศึกษา ศิษย์เก่า และประชาชนทั่วไป เกิดความรู้ความเข้าใจ และรักษาไว้ ซึ่งมรดกแห่งสุนทรีย์ของชาติไทยต่อไป

ในโอกาสนี้ เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา ซักถามข้อข้องใจ และแสดงความคิดเห็น ตลอดจนช้อเสนอแนะ

สำหรับกลองมังคละ เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านในเขตภาคเหนือตอนล่าง เป็นที่นิยมอย่างมากในเขตจังหวัดสุโขทัย และจังหวัดพิษณุโลก เชื่อกันว่าดนตรีมังคละเล่นกันมานานนับแต่ครั้งกรุงสุโขทัย ข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงขบวนแห่กรานกฐินว่า มี “ดำบงดำกลอง” นั้น มีผู้ให้คำอธิบายว่า หมายถึงการตีกลองหรือประโคมกลองที่ขึงด้วยหนัง ซึ่งหมายถึง กลองมังคละ เพราะ “มังคละ” แปลว่า มงคล มังคละจึงเป็นดนตรีที่เป็นมงคล นิยมใช้บรรเลงในโอกาสแห่พระ แห่นาค ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า งานประเพณีสงกรานต์ งานลอยกระทง เป็นต้น

เครื่องดนตรีในวงประกอบด้วย กลองมังคละ (เป็นกลองหนัง) หน้าเดียวขนาดเล็ก หน้ากลองมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 นิ้ว ปี่ (มีลักษณะคล้ายปี่ชวา) กลอง 2 หน้า 2 ขนาด ขนาดใหญ่เรียกว่ากลองยืนขนาดเล็กเรียกว่า กลองหลอน ตีจังหวะขัดล้อกัน และเครื่องประกอบจังหวะได้แก่ ฆ้อง (แขวนอยู่บนคานหาม) ฉิ่ง และฉาบใหญ่

error: Content is protected !!