ชาวแพสองแควสุดรันทด”บีบค่ารื้อและขนย้ายจ่ายหลังละ 5,000 บาท ยืนยันสกปรกน้อยกว่าท่อน้ำทิ้งเทศบาล

ชาวเรือนแพยอมรับสกปรกน้อยกว่าท่อน้ำทิ้งของเทศบาลที่ไหลลงสู่แม่น้ำน่านส่งกลิ่นเหม็นอบอวลชุมชนชาวแพถูกขายเปลี่ยนมือไปแล้วจำนวนมาก

วันที่14 มิถุนายน2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากรณีชาวเรือนแพบนสองฝั่งลำน้ำน่านที่ถูกย้ายออกไปจากบริเวณที่เคยอยู่อาศัยใกล้กับสะพานนเรศวร ประการสำคัญถูกบรรจุอยู่ในคำขวัญของจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งมีข้อความว่าพระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา

ทั้งนี้ทำให้หลายฝ่ายออกมาวิจารณ์อย่างกว้างขวางในลักษณะเสียดายเอกลักษณ์ของจังหวัดพิษณุโลก ทางด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวซึ่งมีทั้งอดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ ประธานหอการค้าจังหวัด สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวฯ ตลอดจนประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ...ดร.ทวี บูรณเขตต์ เจ้าของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวีและบุคคลดีเด่นของชาติ ประจำปี 2533 จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเสียดายเรือนแพและวิถีชีวิตที่สวยงาม ขณะที่จังหวัดอื่นอยากมีเรือนแพแต่จังหวัดพิษณุโลกเอาออกไป

สำหรับโครงการย้ายเรือนแพกลางลำน้ำน่านขึ้นบนฝั่ง โดยเริ่มย้ายมาตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา โดยทางการจ่ายค่ารื้อขนย้ายให้หลังละ 5,000 บาท และจัดสรรที่ดินบริเวณบ้านคลองโคกช้าง หมู่ที่10 ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก ซึ่งเป็นที่ดินในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก โดยชาวแพต้องจ่ายค่าก่อสร้างบ้านพัก ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยผ่อนชำระเดือนละ 1,300 บาท เป็นระยะเวลา 15 ปี และจ่ายค่าเช่าที่ดิน อบจ.พิษณุโลก ปีละ 252 บาท อย่างไรก็ตาม มีชาวแพส่วนหนึ่งที่ไม่ยอมย้ายขึ้นฝั่ง แต่ถูกจัดสรรให้ย้ายไปจากสถานที่เดิม เพราะมีวิถีชีวิตเคยมีรายได้จากการหาปลาในแม่น้ำน่าน เช่น ดักข่าย ตกปลา เป็นต้น

ข่าวแจ้งว่า ขณะนี้ชุมชนชาวแพที่อาศัยอยู่บริเวณบ้านคลองโคกช้าง มีจำนวนไม่มาก เนื่องจากได้ทยอยขายเปลี่ยนชื่อให้กับบุคคลภายนอก มาสร้างเป็นหอพักอาคารพาณิชย์ และที่อยู่อาศัย บางรายซื้อไปแล้วดัดแปลงทำหอพักให้เช่า แม้ว่าทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ติดประกาศไว้ห้ามมิให้โอนสิทธิ์การเช่าอาคารสิ่งปลูกสร้างและที่ดินที่เช่าให้แก่บุคคลภายนอก เว้นแต่กรณีตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม และห้ามดัดแปลงต่อเติมโดยมิได้รับอนุญาต

นายรัตนชัย ฤทธิ์ทอง หรือลุงหมู อายุ 50 ปีบ้านเลขที่100/42 ตำบลแพพุทธบูชา อำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า การที่ตนและครอบครัวชาวแพโดนย้ายมาจากหน้าโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีมาอยู่ตรงวัดจันทร์ตะวันออกนั้น รู้สึกไม่ได้อยากมาเลย เพราะตรงที่เดิมอยู่สุขสบายอยู่แล้ว และอยู่มาเนิ่นนานหลายช่วงอายุคนจึงผูกพันกับที่ตรงนั้นมากกว่าที่ตนจะมาอยู่ตรงนี้ ตนโดนย้ายแพไปมาถึง 4 ครั้งแล้ว จึงกลัวว่าวันข้างหน้าจะโดนย้ายไปไหนอีกหรือไม่

ส่วนเรื่องที่ไม่อยากย้ายมาอยู่บนบกนั้น เพราะครอบครัวทำมาหากินอยู่กับน้ำกับปลามาตลอด ถ้าให้ขึ้นไปอยู่บนบกจะไปทำมาหากินอะไร อีกทั้งที่ดินก็ไม่มีจะไปปลูกบ้านบนบกไหนจะเงินที่จะนำมาปลูกบ้าน หรือส่งรายเดือนก็ไม่มีและในเรื่องที่มีการจัดหาที่อยู่ให้ สำหรับชาวแพที่ย้ายขึ้นมาอยู่บนบกนั้น ตนก็ไม่อยากไปอยู่ที่นั่น เพราะไม่มีเงินพอที่จะหามาจ่ายค่าบ้านเป็นรายเดือน จึงตัดสินในอาศัยอยู่ที่แพนี้ต่อไป และยังคงทำอาชีพหาปลาไปขายที่ตลาดเพื่อเลี้ยงปากท้องของครอบครัวนายรัตนชัยกล่าว

ทางด้านนางสำลี คล้ายทิม อายุ71 ปี อดีตชาวเรือนแพที่พักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่1000 / 73 บ้านคลองโคกช้างประกอบอาชีพรับซักรีดเสื้อผ้า กล่าวว่า ตนเพิ่งย้ายออกมาจากแพในลำน้ำน่านหน้าโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี มาตั้งแต่ปี2544 ได้รับเงินค่ารื้อย้ายหลังคาละ5,000 บาทโดยที่ทางราชการอ้างว่าพวกเราชาวเรือนแพนั้นมีความเป็นอยู่สกปรกแต่ความจริงมันก็มีอยู่บ้าง

นางสำลี กล่าวอีกว่า ความสกปรกและส่งกินเหม็นมันเกี่ยวกับท่อระบายน้ำของเทศบาล ที่ปล่อยน้ำเสียลงหน้าแพเหม็นมาก พวกไขมันไหลมาตามท่อชาวแพอยู่กันมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่2 ยายอยู่กันมา แต่เป็นความประสงค์ของทางการที่ต้องการให้ย้าย

พวกฝรั่งญี่ปุ่นชอบลงไปที่แพเขาชอบแพมันไม่ร้อนสะดวกสบายห้องน้ำก็มีถังแกลลอนที่สกปรกเทศบาลเขาปล่อยน้ำเสียลงมาในแม่น้ำน่านทางเดินลงแพไม่มีหญ้าและมีบันไดขึ้นลง ฝรั่งชอบลงเดินกันเป็นแถวเขาชอบถ้ามีแพฝรั่งมาเช่าพักอาศัยก็น่าจะดีนางสำลีกล่าว