เจ้าของคำขวัญจังหวัดพิษณุโลก เผยเคยถูกขอให้ปรับปรุงแก้ไข ก่อนย้ายเรือนแพขึ้นฝั่ง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์(ผศ.) สุรีย์ ไวยกุฬา อดีตอาจารย์ภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม พิษณุโลก และเจ้าของคำขวัญจังหวัดพิษณุโลก ชนะเลิศการประกวดในปี  2530 กล่าวว่า คำขวัญที่ชนะเลิศของคณะกรรมการประกวดจังหวัดพิษณุโลก  ได้กำหนดสิ่งของดีเด่นภายในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 5 อย่าง ด้วยความที่เคยผูกพันกับจังหวัดพิษณุโลก รับราชการมาตั้งแต่ปี 2517 จนเกษียณอายุราชการในปี 2549 จึงพิจารณาสิ่งที่คุ้นเคยมาเรียงลำดับความสำคัญ

ผศ.สุรีย์กล่าวอีกว่า จังหวัดพิษณุโลก การพิจารณากลั่นกรองแต่งคำขวัญ นอกเหนือจากหลวงพ่อพระพุทธชินราช และสมเด็จพระนเรศวรมหาราช คือแม่น้ำน่านที่เป็นจุดเด่นที่สุด มีภาพวิถีชีวิตชาวเรือนแพ อีกทั้งตลิ่งทั้งสองฝั่งปลูกผักสวนครัว ไม้ประดับ ซึ่งมีทัศนียภาพที่สวยงาม

แต่พอจังหวัดพิษณุโลก มีแนวคิดที่จะย้ายออกไปจบเลยวิถีชีวิตชาวเรือนแพเป็นสิ่งที่น่าเสียดายที่สุด นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ หรือแม้กระทั่งคนในจังหวัดพิษณุโลก ชอบมายืนบนสะพานนเรศวร แล้วทอดสายตามองเด็กเรือนแพกระโดดน้ำ คนในเรือนแพนั่งตกปลา นั่งรับประทานอาหาร หรือพายเรือข้ามฝั่งยามเย็น เป็นภาพที่งดงามมากผศ.สุรีย์กล่าว

ผศ.สุรีย์ กล่าวด้วยว่า มีความรู้สึกตลอดเวลาและใจหายอยู่ทัศนียภาพที่เคยสวยงาม เพราะมีหลายแห่งอยากจะทำให้เหมือนกับจังหวัดพิษณุโลก เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว แม้กระทั่งเมืองจีน เขาจ้างให้คนมาอยู่และดูแลอย่างดี แต่ของเรากลับบังคับให้เอาขึ้นไปอยู่บนบก แต่มีแพอาหารมาลงแทน ซึ่งควบคุมเรื่องความสะอาดยากมาก

ก่อนที่จะย้ายเรือนแพทางจังหวัดพิษณุโลก เคยได้ติดต่อมาให้ปรับปรุงแก้ไขคำขวัญสองฝั่งน่านล้วนเรือนแพดิฉันได้ตอบไปว่าเป็นเรื่องของคณะกรรมการฯ ที่จะพิจารณาดำเนินการ เพราะคำขวัญได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณาให้รางวัลเรียบร้อยแล้วผศ.สุรีย์กล่าว

อนึ่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรีย์ ไวยกุฬา อดีตอาจารย์ภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฎ(มรภ.)พิบูลสงครามพิษณุโลก ปัจจุบันเกษียณอายุราชการกลับไปใช้ชีวิตในปั้นปลายอย่างสงบสุข ที่ภูมิลำเนาเดิม อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 

พระพุทธชินราชงามเลิศ”

“ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร”

“สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ”

“หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก”

“ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา