กระทรวงดิจิทัลฯ จัดสัมมนา 17 จังหวัดเหนือ พัฒนาเมือง”สมาร์ทซิตี้”

2868

กระทรวงดิจิทัลฯรับสมัครการเป็นเมืองอัจฉริยะ ในกลุ่มเป้าหมาย ผู้นำเมือง จาก 17 จังหวัดภาคเหนือ ทั้งเทศบาล อบจ. และภาคเอกชน


วันที่ 29 พฤษภาคม 2562 ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ กระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม (depa) นายมีธรรม ณ ระนอง ผู้ช่วยผู้อำนวยการอาวุโส กลุ่มกิจการสาขา ดร.นน อัครประเสริฐกุล ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านเมืองอัจฉริยะ พร้อมสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ดีป้าภาคเหนือตอนล่าง จัดงานสัมมนาเชิงปฎิบัติการ “Smart City Thailand Roadshow” เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์เมือง”สมารท์ซิตี้”การโรงแรมเดอะปาร์ค โฮเทล จังหวัดพิษณุโลก โดยมี นายพิพัฒน์ เอกภาพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก กล่าวต้อนรับและเป็นประธานในพิธีเปิด


ดร.ภาสกร ประถมบุตร กล่าวว่า การจะเป็นเมืองอัจฉริยะ ได้นั้น พื้นที่จะต้องยื่นสมัครขอเป็นเมืองอัจฉริยะ ด้วยการจัดทำแผนการพัฒนาเมืองตามเงื่อนไข โดย 1) ต้องกำหนดพื้นที่และเป้าหมายที่ชัดเจน 2) มีแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 3) กำหนดแนวทางการพัฒนาระบบข้อมูลและความปลอดภัย 4) มีแผนจัดทำบริการพื้นที่และระบบเมืองอัจฉริยะ 7 ด้าน มี Smart Environment เป็นด้านบังคับ และ 5) มีแนวทางการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ผู้นำเมืองและผู้สนใจสามารถศึกษาหลักเกณฑ์และขั้นตอนการสมัครเป็นเมืองอัจฉริยะได้ที่เว็บไซต์ www.smartcitythailand.or.th สัมมนาครั้งนี้ได้เชิญตัวแทนผู้นำเมืองจาก 17 จังหวัดภาคเหนือ อาทิ เทศบาล อบจ. และภาคเอกชน แบ่งกลุ่มระดมสมองเพื่อหาแนวทางสมัครการเป็น”เมืองอัจฉริยะ”และเป้าหมายต่อไปคือ จัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Smart City Thailand Roadshow” ภาคใต้ ที่จังหวัดกระบี่ 20 มิถุนายน 2562 ต่อไป

 

นางสาวปารณีย์ ดิบดี รักษาการผู้จัดการสาขาภาคเหนือตอนล่าง กล่าวว่า พิษณุโลก(บริษัทพิษณุโลกพัฒนาเมือง) ถือว่า มีความพร้อมมากที่สุดในการประกาศตัวเป็นเมืองอัฉจริยะ รองลงมาคือ สุโขทัย (บริษัทสุโขทัยพัฒนาเมือง) ส่วนกรณีเอกชนจะขอรับประกาศเป็นเมืองอัจฉริยะก็สามารถทำได้ แต่จะต้องให้ผู้นำเมืองหรือหน่วยงานราชการรับรองและยินยอมให้ประกาศเป็นเมือง Smart city เสียก่อน
พิษณุโลกนั้น อบจ.พิษณุโลกถือว่า มีความพร้อม เนื่องจากได้จัดทำศูนย์ข้อมูลแล้ว อีกทั้งมีแผนและตั้งงบประมาณไว้พร้อมแล้ว จากนั้น ก็สามารถร่วมมือกับเอกชนลักษณะที่เป็นดิจิทัลโพไวด์เดอร์ พัฒนาให้เป็นเมือง Smart city ต่อไป ส่วน NU Smart city หรือ มหาวิทยาลัยนเรศวร นั้น เตรียมประกาศเป็นเมืองสมาร์ทซิตี้ เร็วๆนี้ ซึ่งจะต้องสมัครและรอประกาศต่อไป

ซึ่งในจังหวัดพิษณุโลกสามารถประกาศได้หลายแห่งขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละหน่วยงาน ส่วนภาพรวมทั้งประเทศนั้น เช่น จ.ภูเก็ต จ.ขอนแก่น จ.เชียงใหม่ อยู่ระหว่างขั้นตอนสมัคร ขอรับเป็นเมืองอัจฉริยะแล้


ข้อดีของเมือง Smart city คือ ประชาชนจะมีความสะดวก สบาย มีประโยชน์เข้าถึงข้อมูลภาครัฐได้ง่ายขึ้น ส่วนที่เห็นได้ชัด อาทิ สามารถเชื่อมลิงค์ระบบความปลอดภัย จากศูนย์บัญชาการไปยังผู้ใช้บริการง่าย

นายศุภฤกษ์ ภาวิไล ผู้ก่อตั้ง BEYOND city gateway platform กล่าวว่า บริษัทเอกชนสามารถร่วมมือกับเมือง Smart city ได้ทุกแห่ง ที่ผ่านมาได้ดำเนินการเป็นดิจิทัล เกตเวย์ สร้างแอ๊ป ของจังหวัดอุดรธานี หนองคาย ขอนแก่น แม่สอดและเวียงจันทน์ในประเทศลาว ซึ่งถือเป็นความร่วมมือกับผู้นำภาคธุรกิจในจังหวัดต่างๆ เพื่อนำไปสู่การใช้แอ๊ปในชีวิตจริง บนมือถือ อาทิ กรณี เดินทางเข้าไปในเมืองต่าง ๆ ที่ไม่รู้จัก เพียงแค่กดมือถือดูข้อมูลต่างๆ อาทิ สถานที่เที่ยว กินหรือช็อปปิ้งสินค้าในเมืองนั้นๆ ก็สามารถรู้ได้ทันทีว่า เมืองนั้นมีอะไรโดดเด่น