เขื่อนภูมิพล”55 ปีในความทรงจำของคนไทย

“เขื่อนภูมิพล”ปฐมบทของเขื่อนกักเก็บน้ำแห่งแรกของการชลประทานสมัยใหม่สร้างปิดกั้นแม่น้ำปิงที่มีต้นน้ำอยู่จังหวัดเชียงใหม่อีกทั้งยังเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในยุคนั้นและใหญ่ติดอันดับในเอเชียด้วยความจุ13,462 ล้านลูกบาศก์เมตรพื้นที่อ่างเก็บน้ำยาวตั้งแต่จังหวัดเชียงใหม่ลงมาถึงจังหวัดตากระยะทาง207 กิโลเมตรก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี2507 นับถึงขณะนี้ก็กว่าครึ่งศตวรรษเข้าแล้ว

นายสุชีพ มีถม ผู้อำนวยเขื่อนภูมิพล กล่าวว่า เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกในประเทศไทย ลักษณะเป็นเขื่อนคอนกรีตรูปโค้งเริ่มก่อสร้างเมื่อ.. 2496 แล้วเสร็จทำพิธีเปิดเมื่อวันที่17 พฤษภาคม.. 2507 เขื่อนนี้เดิมชื่อเขื่อนยันฮี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานพระปรมาภิไธยให้เป็นชื่อเขื่อนว่า”เขื่อนภูมิพล”เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม.. 2500  เขื่อนภูมิพล สร้างปิดกั้นลำน้ำปิงที่บริเวณเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีรัศมีความโค้ง 250 เมตรสูง154 เมตรยาว 486 เมตร ความกว้างของสันเขื่อน 6 เมตร  อ่างเก็บน้ำสามารถรองรับน้ำได้สูงสุด13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนภูมิพลเป็นเขื่อนโค้งที่สูงเป็นอันดับ 27 ของโลก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน .. 2504 การก่อสร้างในระยะแรกประกอบด้วยงานก่อสร้างตัวเขื่อนระบบส่งไฟฟ้าและอาคารโรงไฟฟ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม .. 2507

คุณูปการของเขื่อนภูมิพลใหญ่หลวงยิ่งแม้จุดเริ่มต้นจะผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นสำคัญ เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ทำลายโรงไฟฟ้าหลักของรัฐเสียหายแทบสิ้นรวมทั้งความต้องการใช้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจอมพล .พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี จึงสั่งการให้หม่อมหลวงชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทาน ก่อสร้างเขื่อนพลังน้ำแต่ในการออกแบบได้ออกแบบในลักษณะเขื่อนอเนกประสงค์

นอกจากผลิตไฟฟ้าแล้วยังพ่วงเกษตรกรรมอุตสาหกรรมและระบบนิเวศไปในตัวที่ตั้งตัวเขื่อนและอ่างเก็บน้ำรวมทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำล้วนอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือทั้งสิ้น แต่ประโยชน์กลับเกื้อกูลพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาของภาคกลางรวมทั้งเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ 

กว่า 54 ปี พิสูจน์แล้วว่า ถ้าไม่มีเขื่อนภูมิพลประเทศไทยคงไม่สามารถเจริญก้าวหน้ามาได้ถึงวันนี้ ทั้งเป็นฐานการผลิตและฐานน้ำอุปโภคบริโภคในที่ราบภาคกลางกว่า 20 จังหวัดในอีกด้านหนึ่งระยะเวลา 54 ปีเริ่มมีปัจจัยที่ลดขีดความสามารถของเขื่อนภูมิพล

โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกที่ทำให้ฝนเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงปริมาณพื้นที่ระยะเวลารวมทั้งความต้องการใช้น้ำบริเวณเหนือเขื่อนภูมิพลที่ทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลลงเขื่อนน้อยลง นับแต่สร้างเขื่อนมามีน้ำไหลเต็มอ่าง 5 ปี อีก 40 กว่าปี ที่เหลือน้ำเข้ามาปกติบ้างน้อยกว่าปกติบ้าง ซึ่งเริ่มเห็นผลประการหลังมากขึ้นเป็นลำดับสวนทางกับความต้องการน้ำที่เพิ่มขึ้นของลุ่มน้ำเจ้าพระยา

ระยะหลังเขื่อนสิริกิติ์ จะเนื้อหอมมากขึ้น เพราะมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างมากจัดสรรน้ำลงมาช่วยลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้มากขึ้น ในขณะที่เขื่อนภูมิพลมีข้อจำกัดมากขึ้นกว่าเดิม

นายชูชีพ มีถม ผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพล กล่าวว่า  ปัญหาคือจะเอาน้ำจากไหนมาเติมเขื่อนภูมิพล เหนือเขื่อนภูมิพลขึ้นไปน้ำท่าส่วนหนึ่งจะไหลลงแม่น้ำสาละวินและน้ำปีหนึ่งๆมีน้ำท่าจากประเทศไทย ไหลลงสาละวินมากถึง 8,937 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นในลักษณะเดียวกับที่น้ำท่าของไทยไหลลงแม่น้ำโขง โดยที่ประเทศไทยไม่ได้รับประโยชน์แม้แต่น้อย

ผลการศึกษาระยะแรกพบว่ามีแนวผันน้ำมาเติมเขื่อนภูมิพลถึง 22 แนว แต่กรมชลประทานคัดกรองแล้วเหลือ2 แนว คือ

1.แนวส่งน้ำแม่น้ำเมยแม่น้ำตื่นประกอบด้วยคลองผันน้ำจากแม่น้ำเมย ลำน้ำสาขาแม่น้ำสาละวินไปยังสถานีสูบน้ำเมย ก่อนส่งน้ำไปยังอุโมงค์อัดน้ำขึ้นไปถังพักแล้วไหลลงอุโมงค์ส่งน้ำด้วยแรงโน้มถ่วงไปลงแม่น้ำแม่ตื่น ก่อนไหลลงเขื่อนภูมิพลจะผันน้ำได้ปีละ 1,870 ล้านลูกบาศก์เมตรระยะทางของอุโมงค์ส่งน้ำ 16.33 กิโลเมตร ไหลลงแม่น้ำตื่นอีก 35 กิโลเมตร ก่อนลงเขื่อนภูมิพล ประเด็นปัญหาคือแม่น้ำเมยเป็นของประเทศเมียนมาต้องประสานและทำความเข้าใจกันอาจทำให้การพัฒนาล่าช้า

2.แนวส่งน้ำแม่ยวมอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล โดยสร้างอาคารบังคับน้ำบนแม่น้ำยวมตอนล่างเหนือจุดบรรจบแม่น้ำเมย14 กิโลเมตร ในเขต .สบเมย .แม่ฮ่องสอน เพื่อกักเก็บน้ำและยกระดับน้ำเข้าสู่สถานีสูบน้ำสบเงา และสูบน้ำเข้าอุโมงค์ส่งน้ำความยาว 61.85 กิโลเมตร ผันน้ำได้เฉลี่ยปีละ1,876 ล้านลูกบาศก์เมตร ใกล้เคียงกัน

เนื่องจากแม่น้ำยวมเป็นแม่น้ำของประเทศไทย จึงมีความเป็นไปได้มากกว่าการผันน้ำจากแม่น้ำเมยของเมียนมาร์ และแม้ใช้เงินลงทุนสูงกว่าจากระยะทางที่ไกลกว่า  แต่ผลตอบแทนก็คุ้มค่า ขณะนี้จึงเป็นการศึกษาความเหมาะสมและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA ) ของทั้ง 2 แนว ส่งน้ำซึ่งแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2561

ในทางวิศวกรรมนั้นเป็นไปได้แทบจะทุกประการการเจาะอุโมงค์แม้ยังเป็นเรื่องใหม่ในไทยแต่ในต่างประเทศเทคโนโลยีนี้ก้าวหน้าไปมากแล้วไม่ว่าสวิสเซอร์แลนด์อังกฤษฝรั่งเศสจีนและฯลฯส่วนผลกระทบก็ต้องว่ากันไปเช่นเดียวกับผลกระทบต่อพื้นที่บริเวณแม่น้ำยวมตอนล่างซึ่งมีแต่พื้นที่ป่าแทบไม่มีเรือกสวนไร่นาของชาวบ้าน

ประเด็นจึงอยู่ที่นโยบายรัฐบาลว่าตระหนักถึงปัญหานี้มากน้อยเพียงใดถ้าไม่ต้องนำพาปัญหาในอนาคตก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลชุดหลังซึ่งเป็นเรื่องผะอืดผะอมมาโดยตลอดว่าขาดความกล้าหาญในการตัดสินใจเพราะเกรงปัญหาฐานคะแนนเสียงและการต่อต้านจากเอ็นจีโอทั้งที่รู้ว่าจำเป็นและต้องรีบทำก็ตาม

การปล่อยให้เขื่อนภูมิพลขอดน้ำก็เท่ากับเมินเฉยต่อความเป็นความตายของประเทศในอนาคต จึงไม่เป็นการนานจึงไม่เป็นคุณแม้แต่น้อย เพราะแม้ตัดสินใจสร้างก็ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 6-7 ปี

ขณะนี้แม้จะช่วยกันประหยัดน้ำทั้งน้ำอุปโภคบริโภคและน้ำ เพื่อการเกษตรที่ต้องงดนาปรังกันบ้าง ซึ่งแค่พอถูไถชะลอปัญหาน้ำระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะความจริงที่น่าหวั่นกลัว คือความต้องการน้ำไม่เคยลดลงต่างหาก

                                                  

สบเกษม แหงมงาม/ รายงาน