ม.นเรศวร แถลงผลวิจัยขายสูตรผงแป้งไมโครไนซ์เอ็นยู เลี้ยงลูกสุกร
วันที่ 21 กุมภาพัพนธ์ 2566 เวลา 10.00 น.ที่คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลับนเรศวร รองศาสตราจารย์ ดร.กรกนก อิงคนินันท์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า รองศาตราจารย์ ดร. วันดี ทาตระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะวิจัย โดยมีนายจักรพันธ์ สาตุ้ม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เฟิร์สลี่เทค จำกัด ร่วมแถลงข่าวว่า รศ.ดร.วันดี พร้อมคณะวิจัย ได้คิดค้นนวัตกรรม “ผงแป้งแรกคลอด” จากสมุนไพรไทยลดความเสี่ยงอัตราการตายของลูกสุกรแรกคลอด
โดยนวัตกรรมนี้ได้รับความไว้วางใจจาก บริษัท เฟิร์สลี่เทค จำกัด รับการถ่ายทอตนวัตกรรมสู่เชิงพานิชย์ ทั้งนี้แนวโน้มสถานการณ์สินค้าสุกร ปี 2566 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่า ปี 2566 การผลิตสุกรในประเทศไทยจะมีปริมาณ 17.47 ล้านตัว จาก 15.51 ล้านตัว ของปี 2565 คิดเป็นร้อยละ 12.66 เนื่องจากจำนวนแม่พันธุ์สุกรที่เพิ่มขึ้นจะสามารถขยายการผลิตสุกรได้เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตามเกษตรกรยังคงมีความกังวลจากความเสี่ยงของโรคระบาดในสุกร และต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity) รองศาสตราจารย์ ดร.วันดี ทาตระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า “ผงแป้งพอกตัวลูกสุกรแรกคลอด” สามารถใช้พอกตัวลูกสุกร ทำให้ลูกสุกรสามารถ เข้าถึงเต้านมได้เร็วขึ้น และยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อจุลลินทรีย์ ที่ทำให้เกิดท้องเสียในลูกสุกร และทำให้พื้นคอกแห้ง อยู่เสมอ โดยมีส่วนผสมจากสมุนไพรที่เป็นวัตถุดิบหาได้ง่ายจากภายในประเทศ
อีกทั้งสามารถย่อยสลายได้ง่าย และเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรให้แก่เกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง
นวัตกรรม “ผงแป้งพอกตัวลูกสุกรแรกคลอด” ประกอบไปด้วยแร่ธาตุจากธรรมชาติ เมื่อสัมผัสกับน้ำจะไม่ทำให้เกิดความร้อนไม่มีสารเคมีเจือปน และไม่ออกฤทธิ์ระคายเคืองต่อผิวหนัง
ไม่เพียงแต่จะใช้โรยตัวลูกสุกรเพื่อดูดชับความชื้น แล้วยังสามารถลด
กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ในคอกคลอดรวมถึงช่วยรักษาสภาพแวดล้อมภายในคอกให้ปลอดโรคมากยิ่งขึ้น
โดยมีจุดเด่น ลดความชื้น รักษาอุณหภูมิในร่างการลูกสุกร อุณหภูมิภายนอกสูงกว่าในมดลูกลูกหมูมีพลังงานสะสมน้อยควรมีการดูดนมมากกว่า ควบคุมแบคที่เรียแห้งกว่า เชื้อโรคก็น้อยกว่า สายสะดือแห้งเร็ว ลดการเกิดสะดืออักเสบ
นายจักรพันธ์ สาตุ้ม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เฟิร์สลี่เทค จำกัด กล่าวว่า ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยนเรศวร และทีมวิจัย ที่ไว้วางใจให้ทาง บริษัท เฟิร์สลี่เทค นำนวัตกรรมดังกล่าวไปต่อยอดเชิงพานิชย์ และทางบริษัทก็มีความ
มั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า เกษตรกรสมุนไพรและเกษตรกรสุกรไทยจะได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมชิ้นนี้ มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมนำนวัตกรรมถ่ายทอดสู่เชิงพานิชย์เพื่อตอกย้ำวิสัยทัศน์ “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคมของผู้ประกอบการ” สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กองการถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา โทร. 0 5596 8727 ทุกวันในเวลาราชการ