จังหวัดตาก เครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย เพื่อผลิตเอทานอลกว่า 200 คน ยื่นหนังสือเรียกร้องช่วยเหลือค่าตัดอ้อยสดตันละ 120 บาท8
หลังครม.มีมติช่วยเหลือเฉพาะอ้อยส่งเข้าโรงงานน้ำตาล ไม่ช่วยเหลืออ้อยผลิตเอทานอล
วันที่ 1 กรกฎาคม 2568 ที่บริเวณลาน หน้าที่ว่าการอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยเพื่อผลิตเอทานอล จังหวัดตาก นำโดยนายบุญปั่น ละน้อย ในฐานะประธานเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยเพื่อผลิตเอทานอล จังหวัดตาก พร้อมเกษตรกรชาวไร่อ้อย กว่า 200 คน ได้ยื่นหนังสือถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ผ่านศูนย์ดำรงธรรมอำเภอแม่สอด โดยมีนายสัญญา เพชรเศษ นายอำเภอแม่สอด พร้อมมอบหนังสือให้กับนายรัชต์พงศ์ สร้อยสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจังหวัดตาก เขต 2 และ นายชัยณรงค์ มะเดชะ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมตรี นายภูมิธรรม เวชยชัย
นายบุญปั่น ละน้อย ในฐานะประธานเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยเพื่อผลิตเอทานอล จังหวัดตาก กล่าวว่าเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือค่าตัดอ้อยสด ตันละ 120 บาท
หลัง ครม.มีมติอนุมัติช่วยค่าตัดอ้อยสด เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2568 ในกรอบวงเงิน 5,175 ล้านบาท โดยให้
เฉพาะอ้อยที่ส่งเข้าโรงานน้ำตาล ไม่ช่วยอ้อยที่ผลิตเอทานอล ซึ่งเกษตรกรชาวไร่อ้อยให้ความร่วมมือตั้งแต่พื้นที่แม่สอดปนเปื้อนสารแดดเมี่ยม รัฐให้เกษตรกร งดปลูกข้าวหรือพืชที่เป็นห่วงโซ่อาหารให้มาปลูกอ้อยเพื่อเอาไปผลิตเอทานอล เราก็ร่วมมือด้วยดี และขยายออกไปปลูกเพิ่ม
ใน 3 อำเภอ คือ แม่สอด, แม่ระมาดและพบพระ มีพื้นที่ปลูกกว่า 6 หมื่นไร่ เมื่อประเทศมีปัญหาผลกระทบ ฝุ่น PM 2.5 รัฐบาลและจังหวัดก็ประกาศขอให้เกษตรกร งดเผาพื้นที่การเกษตร ชาวไร่ก็ให้ความร่วมมืออย่างดี รัฐบาลก็มีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเก็บเกี่ยวอ้อยสด 120 บาท ต่อตัน เกษตรกรชาวไร่อ้อยผลิตเอทานอล ก็ได้รับการช่วยเหลือทุกปีเหมือนอ้อยน้ำตาล มีปี 66/67 รัฐบาลไม่ช่วย ก็ไม่ได้เหมือนกับอ้อยน้ำตาล แต่พอมาปีนี้ 67/68 รัฐบาลมีเงินชดเชยช่วยเหลือ ตันละ 69 บาท แต่ไม่ช่วยอ้อยที่ผลิตเอทานอล
เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยเพื่อผลิตเอทานอลจังหวัดตาก ก็ไม่เข้าใจ ทำไมเราถึงไม่ได้รับการช่วยเหลือ ทั้งที่เป็น
อ้อยเหมือนกัน ปุ๋ยก็ซื้อราคาเท่ากัน ค่าไถ ค่าตัด ก็เท่ากัน มาวันนี้ก็เพื่อขอให้จังหวัด ช่วยประสานกับหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง ช่วยเหลือ ซึ่งค่าเก็บเกี่ยวอ้อยสดนั้นเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ที่เราขอให้ช่วยเท่าเดิม คือตันละ 120 บาท
ก็เพราะรัฐบาลช่วย ตันละ 69 บาท แต่ชาวไร่อ้อยน้ำตาลเขาจะขอให้ กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย ช่วยอีก ตันละ
51 บาท เท่ากับตันละ 120 บาท เหมือนเดิมแต่อ้อยเอทานอล ไม่ได้อยู่ในระบบน้ำตาล จึงไม่ได้รับการช่วยจาก
กองทุนฯ
ด้านนายชาตรี วังศรี เลขานุการเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยเพื่อผลิตเอทานอล จังหวัดตาก กล่าวว่า อ้อยเหมือนกัน ทำไม ได้ไม่เหมือนกัน ชาวไร่อ้อยตัดอ้อย ส่งโรงงาน บริษัทแม่สอดพลังงานสะอาด จำกัด เป็นโรงที่มีอ้อยสดมากที่สุด และมีปริมาณอ้อยไฟไหม้ น้อยที่สุด เมื่อคิดเป็น
เปอร์เซ็นต์ ถือว่าเกษตรกรให้ความร่วมมือดีที่สุดในประเทศในฤดูการผลิต 2567/2568 มีเกษตรกร 1,792 ราย ส่งอ้อยให้ โรงงาน บ.แม่สอดพลังงานสะอาดมีปริมาณอ้อยทั้งสิ้น 602,739 ตัน มีปริมาณอ้อยสด 600,177 ตัน หรือ 99.57% มีปริมาณอ้อยไฟไหม้ 2,562 ตันหรือ 0.43 % ของอ้อยทั้งหมด จึงอยากให้รัฐบาลทบทวนช่วยเหลือเกษตรในครั้งนี้ด้วย