อุตรดิตถ์ แถลงข่าวการจัดงานมหกรรมของดีอำเภอท่าปลา ครั้งที่ 8 ประจำปี 2567
วันที่ 30 ตุลาคม 2567 เวลา 10.00 น. ที่หอประชุมโรงเรียนท่าปลาประชาอุทิศ ต.ร่วมจิต อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ นายกิตติกานต์ ทองแตง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลผาเลือด นายสุรินทร์ ปริมาณ นายกเทศมนตรีตำบลท่าปลา นายจักรพรรณ สุวรรณภักดี นายอำเภอท่าปลา นายนันทสิทธิ์ โพธิ์งาม รองปลัด อบจ.อุตรดิตถ์ พร้อมด้วยนางสาวภัททิรา คำอภิวงศ์ รองผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานแพร่ รับมอบหมายพื้นที่ จ.อุตรดิตถ์ ร่วมกับนายกองค์การบริหารส่วนตำบลร่วมจิต นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าปลา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหาดล้า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมัน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนางพญา นายกเทศมนตรีตำบลร่วมจิต นายกเทศมนตรีตำบลจริม เจ้าหน้าที่จาก ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์ ผู้อำนวยการเขื่อนสิริกิติ์ประธานกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ นายดนัย อู่ทรัพย์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอท่าปลา
โดยร่วมกันแถลงข่าวการจัดงานมหกรรมของดีอำเภอท่าปลา ครั้งที่ 8 ประจำปี 2567 การจัดงานดังกล่าวจัดขึ้นที่บริเวณลานอเนกประสงค์ข้างที่ว่าการอำเภอท่าปลา ในระหว่างวันที่ 4-10 พฤศจิกายน 2567(ออกพรรษาแห่ผีตลก หนึ่งเดียวในโลก ที่อำเภอท่าปลา)โดยมีนายกิตติกานต์ ทองแตง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลผาเลือดเป็นเจ้าภาพหลัก และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ 1,000,000 บาท องค์การบริหารส่วนจังหวัด 300,000 บาท การไฟฟ้าเขื่อนสิริกิติ์ 100,000บาท
นอกจากนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 9 แห่ง ,องค์กรปกครองส่วนท้องที่ทั้ง 7 ตำบล มอบงบประมาณในการร่วมจัดกิจกรรม ซึ่งมีนางสาวสุนันทา สุนทรารัณย์ บริจาค 10,000 บาท หน่วยงานพัฒนาชุมชน,เกษตร อ.ท่าปลา,กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอำเภอ ท่าปลา,ส่วนราชการ,ร่วมออกร้านแสดงวิถีคนท่าปลา นำเสนอของดีต่างๆของอำเภอท่าปลา ราษฎรที่อพยพจากพื้นที่อำเภอท่าปลาเก่า ก่อนการสร้างเขื่อน ในบูธวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นมีลานวัฒนธรรมของสภาวัฒนธรรมของอำเภอท่าปลา
ราษฎรอำเภอท่าปลา ที่อพยพจากพื้นที่อำเภอท่าปลาเดิม จากการก่อสร้างเขื่อนสิริกิติ์เมื่อปี พ.ศ.2512 ประชาชนต่างเคยดำรงชีวิตอย่างมีความสุขตามธรรมชาติ
ตามคำกล่าวที่ว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าวได้หายไปภายหลังที่ราษฎรขนย้ายครอบครัวของตนมาจับจองที่อยู่อาศัยตามที่รัฐจัดสรรให้ ขนบธรรมเนียมประเพณีจำปี เช่น ประเพณีแห่ผีตลก ประเพณีตานก๋วยสลาก ประเพณีการขึ้นธาตุของคนท่าปลา ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีจุดบอกไฟ ในเวลาสรงน้ำพระธาตุของคนท่าปลา ประเพณีต่างๆเหล่านี้ก็จางหายไปในช่วงที่อพยพมาสร้างบ้านแปงเมืองใหม่
ปวินท์ อินกล่ำ รายงาน