พิษณุโลก ผอ.สบอ.11 สั่งทำป้ายใส่ QR code กั้นแนวป้องกันนักท่องเที่ยวตื่นแห่ดูรอยตีนไดโ!นเสาร์ กินเนื้อจำพวก 3 นิ้ว เดิน 2 ขา
วันที่ 3 สิงหาคม 2567 นายโกเมศ พุทธสอน ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 (ผอ.สบอ.11) พิษณุโลก เปิดเผยหลังลงพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้าร่วมกับคณะเจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 2 บ่ายวานนี้ว่า ได้สั่งการให้หัวหน้าและผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้าจัดทำป้ายบอกเรื่องราวการค้นพบ บรรจุลงใน QR code เพื่อให้นักท่องเที่ยวอ่านในมือถือ พร้อมกั้นแนวเส้นทางป้องกันไม่ให้นักท่องเที่ยวที่อาจทะลักมาเยี่ยมเยือน ลักษณะรุกล้ำเยียบย่ำลานหินจนสึกกรอน
นายโกเมศ กล่าวว่า ได้คุยกับนักธรณีซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านไดโนเสาร์ ยืนยันว่า สิ่งที่พบนั้น มหัศจรรย์ ไม่ใช่มีแค่รอยตีนเดียว ซึ่งตีนไดโนเสาร์นั้น ไม่ใช่ภาษาหยาบ ควรใช้คำว่า รอยตีน ไม่ใช่รอยเท้าไดโนเสาร์ สิ่งที่พบนั้น ประทับอยู่กลางลานหินทรายและหินโคลน ซึ่งอยู่ในหมวดหินภูพาน ยุคครีเทเชียสตอนต้น อายุ 120 ล้านปีก่อน กระจายอยู่บนพื้นที่ประมาณ 2,500 ตารางเมตรกว่า 10 รอย ไม่น้อยกว่า 2 แนว ยืนยันเป็น ตีนข้างละ 3 นิ้วเดิน 2 ขา ของไดโนเสาร์กินเนื้อ
ซึ่งจะบรรจุเรื่องราวขอมูลของไดโนเสาร์กินเนื้อลงในป้ายพร้อมภาพ QR code และอาจบรรจุข้อมูลผู้ค้นพบคนแรก ซึ่งเป็นครอบครัวนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการสำรวจธรรมชาติ เคยมาแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2563 และวานนี้ยังมาอีกด้วย
ส่วนกระแสดรามา ว่า จุดลานกางเต็นท์อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า เตรียมจะถมและก่อสร้างที่จอดรถ นั้น เป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อนไม่เป็นความจริง ตรวจสอบแล้ว ไม่มีงบหรือโครงการก่อสร้างใดๆ ไปใกล้ๆ ลาน ฮ . ดังกล่าว ตรงกันข้าม ตนในฐานะ ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 (พิษณุโลก) จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเพื่อการเรียนรู้ทางธรณีวิทยาต่อไป ควบคู่กับแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ และอาจเชื่อมโยงไปดูแหล่งค้นพบไดโนเสาร์ บริเวณน้ำตกหมันขาว ต.กกสะทอน อ.ด่านซ้าย จ.เลย เมื่อปี 2566 อีกด้วย
“วานนี้ ผมรีบลงไปดูการพบรอยตีน หลังทราบว่า ผู้เชี่ยวชาญมา จึงสั่งการ นำรถฉีดน้ำ ทำความสะอาดเพื่อเปิดวัชพืชพื้นล่างออก ซึ่งปกติที่ผ่านมาไม่มีใครเหยียบย่ำ กระทั่ง ตะลึง ! พบรอยเท้าจริงๆ และมองเห็นด้านหลังไกลๆก็ คือ ลานกางเต็นท์ของนักท่องเที่ยวที่นิยมมาพักค้าแรม มีต้นสนอยู่ ยืนยันว่า จะไม่มีการก่อสร้างลานจอดรถใดๆ แน่ สำหรับจุดที่ค้นพบรอยตีนไดโนเสาร์ ก็เป็นลานหินใกล้ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ สิ่งที่ทำได้วันนี้ คือ อนุรักษ์ตามหลักวิชาการและสื่อสารให้กับสาธารณะชนหรือนักท่องเที่ยวรับทราบในสิ่งที่ถูกต้อง” ผอ.สบอ. 11